jsi.rsu.ac.th
Open in
urlscan Pro
49.231.198.88
Public Scan
Submitted URL: http://jsi.rsu.ac.th/
Effective URL: https://jsi.rsu.ac.th/
Submission: On March 07 via api from US — Scanned from DE
Effective URL: https://jsi.rsu.ac.th/
Submission: On March 07 via api from US — Scanned from DE
Form analysis
0 forms found in the DOMText Content
* เกี่ยวกับวารสาร * กองบรรณาธิการ * วารสาร * คำแนะนำผู้เขียน * ผู้ทรงคุณวุฒิ * ติดต่อเรา * เข้าสู่ระบบ ความเป็นมา วารสารนวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่แนวคิดและผลงานที่มีสาระประโยชน์ของนักคิดนักวิชาการออกสู่สังคมโดยมีการดำเนินงานและตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ อาทิ บทความวิจัย (Research Paper) บทความวิชาการ (Academic Paper) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)และบทความปริทัศน์ (Review Article) เพื่อการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเปิดเวทีเสวนาและกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ สมดังปณิธานในการจัดการศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมที่มุ่งสู่นวัตกรรมทางปัญญา วารสารนวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation กำหนดออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี) บทความในวารสารทุกชิ้น รวมถึงงานค้นคว้าวิจัยที่มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ด้านภาวะผู้นำ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมือง จะได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Annual Peer-reviewed Journal) ก่อนการจัดพิมพ์เสมอ วารสารนวัตกรรมสังคม ได้เสนอเข้ารับการประเมินคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในปี 2565 โดยTCI ได้ประกาศผลการประเมินคุณภาพ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ให้วารสารนวัตกรรมสังคมเป็นวารสารกลุ่มที่ 2 สาขาสังคมศาสตร์ ในฐานข้อมูล TCI โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 วัตถุประสงค์ของวารสาร 1. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) บทความวิชาการ (Academic Paper) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) บทความปริทัศน์ (Review Article) ที่มีคุณภาพของอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนทั่วไปในด้านภาวะผู้นำ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมือง 2. เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนและกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไป โดยสนับสนุนให้อาจารย์ประจำอาจารย์พิเศษ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนทั่วไป นำเสนอผลงานวิชาการในด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมือง นโยบายการรับบทความ กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ นวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะรับบทความจากอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนทั่วไปในด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมืองและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารวิชาการอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ จะมีการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและได้รับความเห็นชอบแล้วจากกองบรรณาธิการ วารสารมีการตรวจสอบคุณภาพของบทความ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer reviewer) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน โดยใช้วิธีการประเมินแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double Blinded Review) ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการฉบับนี้ ถือ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้บริหารและ/หรือคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้มีการนำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ นวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของทางวารสาร วารสารมีกำหนดการออกวารสารทุกราย 6 เดือน โดยออกปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน , ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ของทุกปี จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (PUBLICATION ETHICS) บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (AUTHOR ETHICAL RESPONSIBILITIES) 1. บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น 2. เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร 3. บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น 4. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง เช่น ภาพ ตาราง เป็นต้น 5. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา 6. ผู้เขียนบทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (Template) ของวารสาร 7. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง 8. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และ/หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องระบุในบทความ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ 9. ผู้เขียนไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป 10. การกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในกิตติกรรมประกาศนั้น หากสามารถทำได้ผู้เขียนบทความควรขออนุญาตจากผู้ที่ผู้เขียนประสงค์จะขอบคุณเสียก่อน 11. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป 12. กรณีที่ผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง โดยการทดลองในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ทั้งนี้ การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (EDITOR ROLES AND RESPONSIBILITY) 1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว 2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ 3. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่ 4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน 5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง 6. เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้เขียน เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์การตีพิมพ์ 7. หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (REVIEWER ROLES AND RESPONSIBILITIES) 1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ 2. หากผู้ประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ 3. ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ ติดต่อ วารสารนวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต Website : csirsu.com เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ : 66-2-5339697 โทรสาร : 66-2-5339697 E-mail : csi.rsu@gmail.com Website : jsi.rsu.ac.th Copyright ©2024 Rangsit University พิมพ์ที่ บริษัทบพิธ การพิมพ์ จำกัด 70 ถนนราชบพิธ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 โทรศัพท์ : 02-222 5555 โทรสาร : 02-221 6433 * เกี่ยวกับวารสาร * กองบรรณาธิการ * วารสาร * คำแนะนำผู้เขียน * ผู้ทรงคุณวุฒิ * ติดต่อเรา * เข้าสู่ระบบ