lannainfo.library.cmu.ac.th
Open in
urlscan Pro
202.28.244.95
Public Scan
URL:
https://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannadancing/dancing
Submission Tags: demotag1 demotag2 Search All
Submission: On September 08 via api from IE — Scanned from DE
Submission Tags: demotag1 demotag2 Search All
Submission: On September 08 via api from IE — Scanned from DE
Form analysis
0 forms found in the DOMText Content
You need to enable JavaScript to run this app. * ความเป็นมาของโครงการ * คำขอบคุณ ภูมิหลังฟ้อนล้านนา ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟ้อนล้านนาดั้งเดิม * ฟ้อนเล็บแบบพื้นเมือง * ฟ้อนเล็บแบบราชสำนัก * ฟ้อนเทียน * ระบำซอ * ฟ้อนม่านแม่เล้ * ฟ้อนเงี้ยวเมือง * ฟ้อนน้อยไจยา * ฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตา (ชาย-หญิง) * ฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตา * ฟ้อนสาวไหม * ฟ้อนโยคีถวายไฟ * ฟ้อนกลายลาย * ฟ้อนเชิง * ฟ้อนดาบ * ฟ้อนผางประทีป ฟ้อนล้านนาประยุกต์ * ระบำชาวเขาเผ่าอีก้อ * ระบำชาวเขาเผ่าลีซู * ระบำชาวเขา 2 เผ่า * ฟ้อนวี * ฟ้อนที * ฟ้อนนพบุรีศรีนครพิงค์ * ฟ้อนหู่เตียนเหง * ฟ้อนหอก * ฟ้อนฉาบ ข่าวสาร * ประชาสัมพันธ์ * ภาพกิจกรรม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ * E-BOOK * VDO * นิทรรศการออนไลน์ สารสนเทศดิจิทัลมรดกวัฒนธรรมล้านนา * เพลงล้านนา * อาหารพื้นบ้านล้านนา * ประเพณีล้านนา * ภาพล้านนาในอดีต * เครื่องเขินล้านนา * ค่าวล้านนา * เครื่องปั้นดินเผาล้านนา เกี่ยวกับเรา * รู้จักเรา * นโยบายในการใช้งาน * ติดต่อเรา * ข้อเสนอแนะ เมนู คลิกเพื่อปิดเมนู X * * * * EN * TH . ฟ้อนล้านนาดั้งเดิม ฟ้อนเล็บแบบพื้นเมือง 27 กันยายน 2565 2565 09-28 ฟ้อนเล็บแบบพื้นเมือง ฟ้อนล้านนาดั้งเดิม ประวัติความเป็นมา ฟ้อนเล็บ เป็นฟ้อนพื้นบ้านของชาวล้านนาที่มีมานาน เดิมเรียก "ฟ้อนเมือง" บ้าง “ฟ้อนแห่ครัวทาน”บ้างตามโอกาสที่แสดง เป็นฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของ "คนเมือง" ซึ่งหมายถึงคนในถิ่นล้านนาที่มีเชื้อสายไทยวน และเนื่องจากการเป็นการแสดงที่มักปรากฏ ในขบวนแห่ครัวทานของวัดเพื่อเฉลิมฉลองงานปอย (งานฉลอง หรืองานบุญที่ชาวล้านนาได้สร้าง หรือบูรณะสิ่งต่าง ๆ ในวัดวาอาราม ถือเป็นประเพณีวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฟ้อนแห่ครัวทาน" แต่เดิมการฟ้อนไม่มีการสวมเล็บ ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง 8 นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า "ฟ้อนเล็บ” การฟ้อนชนิดนี้มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมา โดยคณะศรัทธาของแต่ละวัดแต่ละชุมชนจะมีครูฝึก (แม่ครู) ถ่ายทอดให้เยาวชนในชุมชนของตนเอง จึงทำให้ฟ้อนเล็บมีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่มีงานปอยหลวง ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวพืชผลจากไร่นาของตนเองก็จะมีการทำบุญบูรณะวัดวาในชุมชนของตนเอง ก็จะมีงาน ฉลองศาสนสถาน จึงมีการฝึกซ้อมของเด็กสาวในหมู่บ้านเพื่อแสดงในงานดังกล่าวจากแม่ครูฟ้อน ด้วยความที่เป็นฟ้อนพื้นบ้านแบบดั้งเดิม กระบวนท่าทางการฟ้อนอาจคล้ายคลึงกัน หรือต่างกันขึ้นอยู่การถ่ายทอดฝึกซ้อมของแม่ครูแต่ละคน จึงทำให้รูปแบบกระบวนและลีลาท่าฟ้อนไม่ได้กำหนดตายตัวและเป็นมาตรฐาน การกำหนดชื่อท่าฟ้อนก็นิยมกำหนดชื่อตามความสะดวกเพื่อให้จดจำได้ง่าย ต่อมาเมื่อพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้กลับมาประทับที่เชียงใหม่เป็นการถาวร ได้ทรงมีบทบาทในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ สนับสนุนศิลปะการฟ้อนของภาคเหนือหลายชุดการแสดง ทรงเห็นว่าศิลปะการฟ้อนเมือง (ฟ้อนเล็บ) ของล้านนาไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนแน่นอน จึงโปรดให้เสาะหาแม่ครูฟ้อนที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาฟ้อนร่วมกันและได้ทรงปรับปรุงกระบวนท่าฟ้อนให้สวยงามอ่อนช้อยงดงาม จากนั้นทรงโปรดให้มีการฝึกบรรดาลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือ และลูกหลานข้าราชบริวารให้เป็นช่างฟ้อนในคุ้มหลวง นำออกแสดงในงานปอยต่าง ๆ ที่เจ้านายฝ่ายเหนือทรงเป็นผู้อุปถัมภ์เมื่อชาวบ้านได้เห็นการฟ้อนของช่างฟ้อนคุ้มหลวงที่มีลีลางดงามเป็นแบบแผน จึงเกิดการเลียนแบบกระบวนท่าฟ้อนของช่างฟ้อนคุ้มหลวง รวมทั้งเรียกชื่อท่าฟ้อนตาม ปัจจุบันพบว่ากระบวนท่าฟ้อนของพื้นบ้านมีลีลา และการเรียกชื่อท่าฟ้อนตามแบบฟ้อนเล็บในคุ้มหลวง รวมทั้งมีการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบทอด ในแต่ละชุมชน ทำให้สามารถพบเห็นการฟ้อนเล็บแบบพื้นเมืองในปัจจุบันของแต่ละชุมชนในงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน กระบวนท่าฟ้อน กระต่ายต้องแร้ว จีบแก้วคู่ จีบส่งหลัง จันทร์ทรงกลด หรือตั้งวงบน ม้วนมือไหว้ บิดบัวบาน ตากปีก หรือกังหันร่อน จีบส่งหลัง(ท่าเชื่อม) กลางอัมพร ลมพัดยอดตอง สอดสูงจีบส่งหลัง จีบส่งหลัง(ท่าเชื่อม) สอดสร้อยมาลา บัวชูฝัก ผาลาเพียงไหล่ โบกสะบัด โบกสะบัด พรหมสี่หน้า การแต่งกาย เสื้อเป็นเสื้อคอกลมกระดุมปั๊ม แขนกระบอกความยาวเท่าข้อมือตัดแบบแยกชิ้น สีของชุดช่างฟ้อนแล้วแต่ละกลุ่มแต่ละวัดจะกำหนด เนื้อผ้าจะใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าท้องถิ่นที่ทอเอง ซิ่นเป็นซิ่นลายขว้าง ต่อตีนต่อเอว ใช้ผ้าผ้ายหรือผ้าทอเองตามท้องถิ่น สไบใช้ผ้าผ้ายทอหรือผ้าทอตามท้องถิ่น ใช้ความยาวไม่เกินข้อพับเข่า พาดบ่าซ้าย เครื่องประดับ ดอกไม้ประดับผมทัดดอกด้านซ้าย ใช้ดอกไม้พื้นบ้าน เช่น ดอกเอื้อง ดอกเก็ดตะหว่า กระดังงา จำปี จำปา อุบะจะใช้แบบดอกรักร้อย 5 เส้น ดอกใต้อุบะจะใช้ดอกจำปี จำปา เป็นต้น ทรงผมเกล้าผมมวย เครื่องประดับเข็มกลัดหน้าอก เล็บฟ้อนเล็บฟ้อนสีทอง 8 นิ้ว เสื้อ ซิ่น สไบ ดอกไม้ประดับผม ทรงผม เครื่องประดับ เล็บฟ้อน ดนตรีและเพลงประกอบการฟ้อน กลองแอว กลองแอว เป็นกลองที่มีลักษณะคล้ายกับกลองหลวงแต่ขนาดเล็กกว่า คือประมาณ 1 ใน 4 ของกลองหลวงขึงด้วยหนังข้างเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่และไม้แดง เป็นต้น กลองแอวมีชื่อเรียกขานต่างกันไป บางแห่งอาจเรียกตามรูปลักษณ์ที่พบเห็น เรียกตามเสียงที่หูได้ยินหรือ เรียกตามตำนานเล่าขานสืบกันมา อย่างไรก็ตามพอสรุปได้ว่า กลองแอว เป็นชื่อเรียกตามารูปลักษณ์ที่พบเห็น คือมีลักษณะคอดกิ่ว ตรงกลางคล้าวยสะเอว ซึ่งภาษาล้านนาเรียกว่า “แอว” จึงได้ชื่อว่า “กลองแอว” ซึ่งนิยมเรียกกันในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนชื่ออื่นๆ เขียนแตกต่างกัน ได้แก่ “กลองตึ่งนง” หรือ กลองตึ่งโนง เป็นชื่อที่เรียกตามเสียงเมื่อประโคมร่วมกับฆ้องใหญ่สลับกับฆ้องหุ่ยและเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้แก่ ฉาบใหญ่ กลองตะหลดปด แนหลวง และแนหน้อย การประสมวงเครื่องตีและเครื่องเป่า ดังกล่าวเรียก วงตึ่งนง หรือ ตึ่งนง โดยฟังเสียงกลองแอวเสียง “ตึ่ง” และเสียงฆ้องโหย้ง ฆ้องอุ้ย เป็นเสียง “นง หรือ “โนง” “กลองเปิ้ง” นิยมเรียกกันในเขตจังหวัดลำพูน “กลองตกเส้ง” หรือ ตบเส้ง นิยมเรียกกันในจังหวัดลำปาง “กลองอืด” นิยมเรียกกันในจังหวัดแพร่ และน่านบางส่วน “กลองห้ามมาร” หรือ กลองพระญามาร นิยมเรียกชื่อนี้มาจากความเชื่อว่าจะสามารถห้ามมารหรืออุปสรรคอันอาจเกิดชึ้นในขณะจัดงานได้ และในการแห่พระอุปคุตนั้น มักนำกลองแอวนี้ไปนำขบวนด้วย กลองตะหลดปด กลองตะหลดปด เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังสองหน้า ลักษณะการหุ้มหน้ากลองใช้สายเร่งเสียงดึงโดยโยงเสียงสอดสลับกันไปมาระหว่างหูหิ่งทั้งสองหน้า ตัวกลองมีลักษณะยาวคล้ายกลองแขก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดเจาะโพรงภายในทั้งสองหน้าอยู่ในลักษณะบัวคว่ำและบัวหงาย มีท่อนำเสียงตรงกลาง ใช้ตีประกอบจังหวะร่วมกับกลองแอว อาจเป็นกลองนึ่งนง เปิ้งมง ตกเส้ง หรือ กลองอืด ก็ได้ วงกลองเหล่านี้มักบรรเลงเป็นมหรสพในงานบุญหรือ บรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน และในขบวนแห่ทั่วไป ฆ้องอุ้ย (ขนาดใหญ่) ฆ้องอุ้ย คือฆ้องขนาดใหญ่ที่สุด เทียบได้กับฆ้องหุ่ย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-25 นิ้ว มักตีคู่กับฆ้องโหย้ง เมื่อประสมกับวงกลองหลวง หรือวงกลองตึ่งนง ฆ้องโหย้ง (ขนาดกลาง) ฆ้องโหย้ง คือ ฆ้องขนาดใหญ่ เทียบได้กับฆ้องชัย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16-18 นิ้ว มักตีคู่กับฆ้องอุ้ย เมื่อประสมวงกับวงกลองหลวง หรือวงกลองตึ่งนง ฉาบใหญ่ ฉาบ หรือ สว่า เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปร่างเป็นแผ่นกลมคล้ายจาน แต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลางเจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือเส้นหนังสำหรับถือตี ลักษณะของฉาบล้านนาเป็นฉาบขนาดกลาง ใช้ตีประกอบจังหวะคู่กับกลองเต่งถิ้งและกลองป่งโป้ง แนหน้อย เป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่าของล้านนาที่ใช้บรรเลงคู่กับแนหลวง ซึ่งใช้ประสมวงกับวงกลองตึ่งนงและวงกลองเต่งถิ้ง ในการประสมวง แนหน้อยจะเป็นตัวนำเพราะเสียงดัง สามารถปรับลีลาล้านนาเรียกว่าเสียง “อิ้ว” หรือ “ลิ้ว” สามารถเลียนแบบเสียงธรรมชาติได้เกือบทุกอย่าง เช่น เสียงไก่ขัน เสียงคนพูด และเสียงคนร้องเพลง เป็นต้น แนหลวง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของล้านนาที่ใช้บรรเลงคู่กับแนหน้อย ใช้ประสมวงกับวงกลองตึ่งนง และวงกลองเต่งถิ้ง แนหลวงมีขนาดใหญ่กว่าแนหน้อยเสียงของแนหลวงจึงทุ่มต่ำ เวลาเล่นประสมวงจะเป่าเสียงเลอๆ คือเป่าตามทำนองหลัก ไม่มีลูกเล่นซึ่งต่างจากแนหน้อยจะมีลูกเล่นแพรวพราว ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทร.0-5394-4517 อีเมล: lannainfo@cmu.ac.th © สงวนลิขสิทธิ์ เว็บไซต์ฟ้อนล้านนา โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สารสนเทศดิจิทัลมรดกวัฒนธรรมล้านนา * ศูนย์สนเทศภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ * อาหารพื้นบ้านล้านนา * ภาพล้านนาในอดีต * เพลงล้านนา * ประเพณีล้านนา * เครื่องเขินล้านนา * ค่าวล้านนา * เครื่องปั้นดินเผาล้านนา สำนักหอสมุดมช.