th.hrnote.asia Open in urlscan Pro
143.204.215.97  Public Scan

URL: https://th.hrnote.asia/recruit/220215-5-recruiting-metric-for-hr/
Submission: On July 25 via manual from US — Scanned from DE

Form analysis 2 forms found in the DOM

GET https://th.hrnote.asia/

<form class="__search-form" action="https://th.hrnote.asia/" method="get">
  <input type="hidden" name="post_type" value="post">
  <div class="__button icon-search"><span>ค้นหา</span></div>
  <div class="__keywords">
    <input type="text" value="" name="s" id="s" placeholder="ค้นหา" required="required">
  </div>
</form>

GET https://th.hrnote.asia/

<form class="__search-form" action="https://th.hrnote.asia/" method="get">
  <input type="hidden" name="post_type" value="post">
  <div class="__keywords">
    <button class="__button icon-search-2"></button>
    <input type="text" value="" name="s" id="s" placeholder="ค้นหา" required="required">
  </div>
</form>

Text Content

HREX สนับสนุนการเติบโตขององค์กรโดย HR.
ค้นหา

 * 
 * 
 * 
 * 

 * การสรรหาบุคลากร
 * การพัฒนาองค์กร
 * การบริหารงานบุคคล
 * ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
 * Partner Content

MENU
 * News (60)
 * Success Story (42)
 * HR People (19)
 * HR Insight (47)
 * HR Tech (27)
 * การสรรหาบุคลากร (59)
 * การพัฒนาองค์กร (155)
 * การบริหารงานบุคคล (114)
 * ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ (131)
 * Expert Content (29)
 * Partner Content (44)
 * Q&A (40)

 * 
 * 

 * การสรรหาบุคลากร
 * การพัฒนาองค์กร
 * การบริหารงานบุคคล
 * ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
 * Partner Content

MENU
   
 * hrex.asia > HREX Thailand
 * การสรรหาบุคลากร
 * 5 Recruiting Metric พื้นฐานที่ HR ต้องใช้ในการสรรหา
   พร้อมตัวอย่างและการคํานวณเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 


 * 
 * 2022.02.18 2022.12.19


5 RECRUITING METRIC พื้นฐานที่ HR ต้องใช้ในการสรรหา
พร้อมตัวอย่างและการคํานวณเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

 * 
 * 
   

Highlight

 * Recruiting Metric คือตัวชี้วัดประสิทธิภาพต่าง ๆ
   ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาพนักงาน
   เพื่อให้การสรรหาบุคลากรสามารถสร้างอิมแพคให้กับองค์กร เลือกคนได้ถูกต้อง
   แก้ปัญหาได้ถูกจุด ค่าใช้จ่ายลดลงในขณะที่ประสิทธิภาพมากขึ้น
 * Recruiting Metric ทั้ง 5 ได้แก่ Time to Hire, Budget รายปีของการสรรหาบุคลากร,
   เปอร์เซนต์การตอบรับ Offer,
   จำนวนเปอร์เซนต์ของพนักงานล่องหนและอัตราพนักงานลาออกในช่วง Probation
 * Recruiting Metric สามารถที่จะใช้เดี่ยว ๆ เพื่อวัดบางแง่มุม
   หรือจะตีความร่วมกันตัวอื่น ๆ เพื่อหาความเชื่อมโยงของปัญหาก็ได้ ซึ่งจะทำให้ HR
   สามารถเพิ่มบทบาทจากการตั้งรับไปเป็นการช่วยองค์กรเชิงรุกในฐานะ Business
   Partner มากขึ้น



งานที่สำคัญอีกงานหนึ่งของ HR ก็หนีไม่พ้นการหาบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสม
ตรงตามสเปคของงานให้กับบริษัทหรือองค์กร
ซึ่งแน่นอนว่าในสภาพสังคมปัจจุบันที่ความหลากหลายของตลาดแรงงาน มีสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่ใช่แค่บริษัทเลือกผู้สมัคร แต่ผู้สมัครก็เลือกบริษัทเช่นกัน ดังนั้นการทำ
Recruitment แบบทั่วไปอาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการสรรหานั้นไม่ดีเท่าที่ควรอีกต่อไป 

ในบทความนี้ผมจะนำทุกท่านไปเห็นมิติของการใช้ Data เข้ามาบริหารงาน HR
โดยจะเจาะไปที่ Recruiting Metric ล้วน ๆ
เพื่อให้การสรรหาบุคลากรของทุกท่านนั้นสร้างอิมแพคให้กับองค์กร เลือกคนได้ถูกต้อง
แก้ปัญหาได้ถูกจุด ค่าใช้จ่ายลดลงในขณะที่ประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่สำคัญที่สุดผมกำลังพูดถึงการ Convert สิ่งที่เป็น Quality based
ให้เป็นตัวเลขที่วัดผลได้จริง ๆ อีกด้วย



Contents [hide]

 * * 
   * 
   * 
   * 
   * 
 * 




RECRUITING METRIC – HR METRIC ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหา

ความสำคัญของว่าทำไมเราต้องมีการเก็บ Metric เพื่อการสรรหาอย่าง Recruiting Metric
คำตอบคือมีเหตุผลสำคัญเยอะมาก ๆ เพราะว่า Function ที่สำคัญของ HR ก็คือ
Recruitment
เพราะเมื่อหากมีพนักงานลาออกแล้วต้องหาคนใหม่มาแทนแล้วไม่สามารถหาได้ทันการทดแทนอาจจะส่งผลให้ความลื่นไหลในการทำงานมีปัญหา
ซึ่งนั้นหมายถึงค่าเสียโอกาสของบริษัทที่อาจจะประเมินค่าไม่ได้
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของเปอร์เซนต์ของการตอบรับ Offer
เปอร์เซนต์ของผู้สมัครงานที่ตอบรับงานแต่ไม่ Show up
รวมไปถึงอัตราส่วนของผู้ที่ไม่ผ่านการทดลองงานหรือลาออกก่อน Probation 

ถ้าพร้อมแล้วสูดหายใจลึก ๆ เตรียมข้อมูล เครื่องคิดเลข และมาทำความรู้จัก
Recruiting Metric ไปพร้อม ๆ กันครับ 


1. TIME TO HIRE

การได้มาซึ่งพนักงานหนึ่งตำแหน่งในแต่ละสายงานและระดับงานนั้น
ใช้เวลาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กระบวนการสรรหาบุคลากรอาจจะใช้เวลานาน
โดยระยะเวลาในการสรรหาบุคลากรที่นานเกินไปนั้น อาจสร้างปัญหาใหญ่ ๆ ได้สองกรณี คือ
เกิดตำแหน่งว่างในช่วงรอยต่อของพนักงานเก่าที่ลาออกกับพนักงานใหม่ที่เข้ามา
ทำให้เกิดการติดขัดในการทำงาน และอีกเรื่องหนึ่งก็คือ
เราอาจจะสูญเสียบุคลากรที่มีพรสวรรค์ (Talent) ให้กับบริษัทอื่นที่ยื่น Offer
ก่อนเรา ถ้าหากเราใช้เวลาที่นานเกินไปก็ได้
ดังนั้นการหาระยะเวลาในกระบวนการสรรหาบุคลากร หรือ Time to hire
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดปัญหาพนักงานขาดตอนและการสูญเสียบุคลากรที่มีพรสวรรค์
โดยสามารถคำนวณได้จาก 

Time to hire = วันสัมภาษณ์วันแรก – วันเข้างานวันแรก

ยกตัวอย่างเช่น นายนพพร ตำแหน่ง Sales Coordinator มีสัมภาษณ์วันแรก วันที่ 8
ตุลาคม 2562 และเข้าทำงานวันแรกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 นั่นหมายความว่า
เราใช้เวลาไปทั้งหมด 39 วันในการสรรหาตำแหน่ง Sales Coordinator หาก HR
ต้องการทราบค่าเฉลี่ยให้นำค่า Time to hire ของทุกคนที่มี Job Description
เดียวกันมาหาค่าเฉลี่ย
โดยนำเอาจำนวนวันทั้งหมดบวกกันแล้วหารด้วยจำนวนคนที่อยู่ในกลุ่มนี้จะได้ค่าเฉลี่ยออกมา 

สิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับ Time to hire ก็คือ พนักงานในระดับ Early entry, Operation
ควรจะต้องมี Time to hire ที่สั้นที่สุดในบริษัท และไม่ควรเกิน 35 วัน
ระดับต่อมาควรจะเป็น Supervisor หรือ Mid-senior level
ระยะเวลาที่มากที่สุดไม่ควรเกิน 45 วัน และกลุ่มที่จะใช้เวลานานที่สุดจะเป็นกลุ่ม
Senior level, Group head, Director ซึ่งอาจจะสูงถึง 60 วันเลยก็ได้

ถ้าหาก Time to hire ของคุณใช้เวลานานเกินไปอย่างที่กล่าวไปแล้ว
อาจจะส่งผลเสียเรื่องของค่าเสียโอกาสในตำแหน่งงานที่ว่างลง
ความไม่ลื่นไหลของการทำงาน และการเสียผู้สมัครที่ดีให้กับบริษัทอื่น
ให้ลองไปวิเคราะห์ Working process
ของการจ้างงานว่ามีการสัมภาษณ์ที่ซับซ้อนหรือการใช้เวลาคัดกรองที่นานเกินไปหรือไม่
และถ้าหาก Time to hire ของคุณสั้นมากเช่นคุณได้พนักงานคนใหม่ใน 5 วัน
นั้นหมายถึงความเสี่ยงที่คุณอาจจะยังไม่ได้คัดกรองผู้สมัครที่อาจจะยังไม่ดีมากพอ
อาจจะต้องเพิ่มขั้นตอนในการคัดกรองให้พอดี 

HR ควรทำการเก็บค่า Time to hire นี้ ในทุก ๆ กลุ่มงาน และทุก ๆ ระดับชั้นของงาน
ตั้งแต่ระดับฝึกงาน ระดับปฏิบัติการ Supervisor Manager Director
และควรเก็บค่านี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อดูว่าเวลาที่เราใช้สรรหาบุคลากรนั้นนานมากขึ้นหรือสั้นลง
เพื่อที่จะนำมาเป็นค่าเริ่มต้นในการพัฒนาประสิทธิภาพการจ้างงานในเชิงเวลา โดยทำเป็น
HR Recruitment Project ได้อีกด้วย 


2. BUDGET รายปีของการสรรหาบุคลากร 

ในกรณีที่บริษัทของคุณมีระบบการแปรงบประมาณประจำปี
การคำนวณค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากรเป็นอีกหนึ่ง Metric ที่สำคัญในการ Forecast
งบประมาณ รวมถึง tracking แนวโน้มค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปได้ หลักการคำนวณ
Budget รายปีนี้จะมีความคล้ายคลึงกันกับ Cost per recruit ในบทความที่แล้ว

Total Budget on annual Recruitment =
ทุกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้านการสรรหาบุคลากร 

ถามว่าทำไมเราต้องทำ Budget รายปีสำหรับค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากร
เพราะมันดูเหมือนไม่จำเป็น ซึ่งจริง ๆ
แล้วนี่เป็นค่าใช้จ่ายหลักที่มีผลโดยตรงต่อบริษัทและยังเป็นด่านสุดท้ายที่ใช้
Detect ปัญหาของการบริหารค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากร โดยหากเรากำหนด Budget
รายปีในการสรรหาบุคลากรไว้จำนวนหนึ่งแล้วปรากฎว่าเราดัน Overbudget
ไปตั้งแต่เดือนไตรมาสที่สาม นั่นเป็นสัญญาณที่ HR
ต้องไปทำการตรวจสอบว่ามีการลาออกเพิ่มมากขึ้นในแต่ละแผนกหรือไม่
หรือเป็นเพราะนโยบายบริษัทต้องการขยายคน หรือว่าเรากำลังใช้ Cost Per Recruit
ที่สูงเกินกว่าวางเกณฑ์ไว้จนมันไปกิน Budget หรือแม้กระทั่งอัตราการตอบรับ Offer
ที่ต่ำมาก หรือเราเจอพนักงานล่องหน รวมทั้งพนักงานที่รับมาใหม่ไม่ผ่าน Probation
หรือลาออกก่อนช่วง Probation ที่ทำให้เราต้องคอยรับพนักงานใหม่เพื่อ Replacement
อยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นทำให้เราสูญเงินในการว่าจ้างไปโดยเปล่าประโยชน์
ซึ่งเราจะได้รู้จักรายละเอียดของแต่ละ Metric ในข้อต่อ ๆ ไปครับ

โดยเราสามารถทำ Total Budget on annual recruitment รวมทุกแผนทั้งบริษัท
หรือว่าทำแยกเป็นแผนกก็ได้ เพื่อทำให้ข้อมูลมีความชัดเจน Break down budget
ได้ชัดเจน และเจาะปัญหาได้ง่ายขึ้น ผมแนะนำให้ทำ Metric
ตัวนี้ให้มีความหลากหลายเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในทิศทางของบริษัทเกี่ยวกับการสรรหาบุคลากรได้ดียิ่งขึ้น
แล้วจะพบว่าทุกตำแหน่งมีค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคคลไม่เท่ากันแน่นอน


3. เปอร์เซนต์การตอบรับ OFFER 



ฟังดูงง ๆ ว่าเรื่องนี้ทำไมต้องเอามาคิดคำนวณ เพราะจริง ๆ แล้ว ทุกครั้งที่
Candidate เกิดการ Reject offer นั่นหมายถึง Cost Per Recruit
ของเราจะสูงขึ้นเป็นเท่าตัวตามจำนวนคนที่ Reject  และ Leadtime
ในการได้มาซึ่งพนักงานใหม่ก็จะล่าช้าออกไปตามตัวเลขของ Time to hire อีกด้วย
นั่นหมายถึงบริษัทกำลังเสียหายอย่างหนักทั้งเรื่องของตัวงบประมาณและค่าเสียโอกาสที่จะได้มาซึ่งพนักงาน

โดยอัตราส่วนการตอบรับ Offer ของพนักงานใหม่สามารถคิดได้โดย

%การรับ offer = (จำนวน Candidate ที่รับ offer / จำนวน offer ทั้งหมดที่ออกไป ) x
100

ตัวเลขที่สมเหตุสมผลของเปอร์เซนต์การรับออฟเฟอร์โดยปกติแล้ว ควรจะอยู่ที่ 70%-90%
โดย Big Corp ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ 90%+
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่บริษัทของคุณมีเปอร์เซนต์การรับออฟเฟอร์จากพนักงานใหม่ต่ำกว่า
70% ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เรียกได้ว่าแทบจะรับไม่ได้อยู่แล้ว
นั่นคือคุณกำลังเจอปัญหาใหญ่แน่ ๆ เช่น

 * ปัญหาเรื่อง Time to Hire ที่นานเกินไป ผู้สมัครได้รับ Offer จากบริษัทอื่นแล้ว
   และเลือกที่จะไม่รอเรา 
 * การสัมภาษณ์งานไม่น่าประทับใจ ผู้สัมภาษณ์งานไม่เป็นมิตร
   อย่าลืมนะครับว่าการสัมภาษณ์งานแบบที่ผู้สัมภาษณ์แสดงตัวเป็นใหญ่
   ใช้ไม่ได้อีกแล้วกับยุคสมัยนี้ 
 * บรรยากาศของออฟฟิศและที่ทำงาน ตัวสำนักงานอาจจะมีความไม่น่าทำงานอยู่
   ดังนั้นสถานที่สัมภาษณ์และออฟฟิศจึงเป็นอีกหนึ่งแบรนดิ้งของบริษัทเมื่อผู้สมัครเดินทางเข้ามาสัมภาษณ์งานเป็นครั้งแรก
 * การต่อรองเงินเดือนที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนในใบประกาศ 
 * Employer Branding ไม่มี หรือมีแต่ไม่ดี
 * Sentiment Score ของบริษัทติดลบ หรือเป็น ศูนย์
 * สวัสดิการที่ไม่ได้น่าดึงดูดใจ 
 * Job Description ที่ไม่เคลียร์ตามในใบประกาศ 

ดังนั้นตัวเลขเปอร์เซนต์การตอบรับ Offer ของ Candidate
สามารถบอกสุขภาวะของบริษัทคุณจากมุมมองคนภายนอกได้ดีที่สุดวิธีนึงเลยทีเดียว
คุณในฐานะ HR สามารถ Detect ปัญหาผ่านการใช้ Data ใน Metric
นี้เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าจริง ๆ แล้วที่ Candidate ไม่รับ Offer
ของทางบริษัทนั้นเป็นเพราะสาเหตุอะไร ซึ่งเป็นการมองหาปัญหาและแก้ได้แบบที่เรียกว่า
Hit to the point กันเลยทีเดียว 


4. จำนวนเปอร์เซนต์ของพนักงานล่องหน

อ่านแล้วอาจจะสงสัยว่าคืออะไรใช่ไหมครับ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุก ๆ
บริษัทเจอกันบ่อยมาก ๆ ก็คือ ‘พนักงานที่รับ Offer แล้ว แต่ไม่ Show up
ในวันทำงานวันแรก’ ด้วยหลักการแล้ว Metric ตัวนี้ควรจะต้องเป็นศูนย์ด้วยซ้ำ
เพราะว่าหากพนักงานใหม่ตอบรับแล้ว ควรจะต้อง Show up เพื่อเป็นมารยาท
แต่ในบางบริษัทที่มีการจ้างพนักงานพาร์ทไทม์หรือเด็กจบใหม่ (ไม่ใช่ทุกคน) จำนวนมาก
ๆ อาจจะประสบปัญหานี้ได้ โดยตัวเลขของพนักงานล่องหนหาได้โดย

%พนักงานล่องหน = ( จำนวนพนักงานล่องหน / จำนวนพนักงานรับเข้าใหม่ ) x 100

เช่นกัน การคำนวณ Metric ตัวนี้สามารถคำนวณได้ทั้งรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี
หรือรายปี โดยผมไม่แนะนำใช้การคำนวณแบบรายเดือน
เพราะจำนวนพนักงานที่รับเข้าใหม่ในแต่ละเดือนอาจจะน้อย
แนะนำให้ลองคำนวณเป็นรายครึ่งปีเป็นต้นไป

แล้วอะไรที่ทำให้เกิดเหตุการณ์พนักงานล่องหนเกิดขึ้นล่ะ ? 

 * บริษัทอาจจะเลือกคนที่ไม่ใช่มาตั้งแต่แรกแล้ว
 * พนักงานไม่พึงพอใจใน Offer บางอย่างแต่ไม่ได้ต่อรองหรือแจ้งให้ทราบ
 * พนักงานอาจจะตอบรับ Offer แต่ดันไปเจอข้อมูลเชิงลบของบริษัท ดังนั้น  HR
   อย่าลืมเช็ค Sentiment Score ของบริษัทกันด้วยนะครับ

ซึ่งสำหรับส่วนตัวผมทางแก้ที่อาจจะมีได้ เช่น การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับงาน
สวัสดิการ และข้อจำกัด ในประกาศรับสมัครงานอย่างชัดเจนเพื่อเป็น Filter
แรกในการคัดกรอง Candidate รวมถึง จัดระบบการสัมภาษณ์ให้มีประสิทธิภาพ
ไม่กินเวลานาน การสัมภาษณ์งานที่เป็นมิตร ตรงไปตรงมา เข้าประเด็นและมีประสิทธิภาพ
หลีกเลี่ยงการทำแบบทดสอบ ข้อสอบ การให้การบ้านที่มากจนเกินไปหรือไม่จำเป็น
อาจจะเป็นทางออกเบื้องต้นในการแก้ปัญหานี้ได้ครับ 


5. อัตราพนักงานลาออกในช่วง PROBATION หรือไม่ผ่านทดลองงาน

Recruiting Metric ตัวนี้จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของ Candidate ที่ผ่าน Process
จนมาเป็นพนักงานของบริษัท ตั้งแต่ Onboarding, Training, Handover, Evaluation
โดยใน Metric นี้จะรวมไปถึง
พนักงานที่เริ่มทำงานแล้วสมัครใจลาออกเองก่อนหมดระยะประเมินทดลองงาน
รวมไปถึงพนักงานที่ไม่ผ่านทดลองงานจากการประเมินของการทดลองงานด้วย
โดยระยะเวลาทดลองงานส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 เดือน หรือ 90 วัน
โดยการคำนวณหาอัตราส่วนสามารถทำได้โดย 

%พนักงานไม่ถึง 90 วัน = ( จำนวนพนักงานที่ออกก่อน 90 วัน /
จำนวนพนักงานที่ถูกจ้างทั้งหมดในช่วงเวลานั้น ๆ ) x 100

โดยสามารถคำนวณตาม Time Frame ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะรายไตรมาส รายครึ่งปี หรือรายปี
ก็สามารถทำได้
โดยถ้าหากบริษัทของคุณมีอัตราของพนักงานที่อยู่ไม่พ้นช่วงทดลองงานที่สูงเกินกว่า
20% แสดงบริษัทของคุณอาจจะกำลังมีปัญหาต่อไปนี้

 * ระบบการสรรหาพนักงานของคุณยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
 * Job Description ในประกาศสมัครงานกับงานจริงอาจจะไม่สอดคล้องกัน
 * บรรยากาศการทำงานที่ไม่ดี
 * หัวหน้างานที่ดูแลอาจจะไม่ได้ดูแลอย่างทั่วถึง
 * Onboarding Process ที่ไม่ชัดเจน
   พนักงานใหม่เหมือนจะต้องดูแลและพึ่งพาตัวเองไปเสียทุกอย่าง
 * Training Program ที่อาจจะยังไม่เคลียร์ ไม่มีประสิทธิภาพ 
 * พนักงานไม่เห็นช่องทางการเติบโตในสายงาน 
 * วัฒนธรรมการทำงานที่อาจจะไม่ตรงกับพนักงานใหม่ 

ทั้งนี้คุณอาจจะต้องตรวจสอบ Recruitment Workflow, Process และ Criteria
ในการคัดสรรพนักงานเพื่อตรวจสอบว่า HR
ได้เลือกพนักงานที่ถูกต้องให้กับบริษัทคุณแล้ว รวมไปถึงการให้ความสำคัญมาก ๆ
กับการพัฒนา HRD และ Training System เพราะนี่คือส่วนสำคัญมาก ๆ
ในการพัฒนาบุคลากรให้ทำงานได้ดีมากขึ้น ตัวพนักงานเองก็เห็นช่องทางการเติบโต (
เดี๋ยวผมจะหาโอกาสเล่าเรื่องการปรับ Training ของบริษัทให้เป็น Training Academy
ที่เหมาหมดทุกการพัฒนาคนในอนาคตอันใกล้นี้ครับ )
รวมไปถึงการวัดผลช่วงทดลองงานที่สมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพ (
สามารถหาไอเดียการประเมินงานได้จากบทความ Self-evaluation ของผมได้ครับ )
เรื่องสำคัญก็คือ เพื่อนร่วมงานและ Supervisor ต้องได้รับการเทรนให้เป็น Partner
และ Mentor
ของพนักงานใหม่เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมืออาชีพและผลักดันให้พนักงานโฟกัสกับผลลัพธ์และการเติบโต 

HR ต้องทำอะไรบ้าง เมื่อรู้ว่าพนักงานลาออกแน่นอน



บทสรุป

ทั้งหมดด้านบนที่กล่าวมาเป็น HR Metric ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาพนักงานหรือ
Recruiting Metric 

ในฐานะ Human Resource ของบริษัท Metric
เหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องเริ่มใช้งานกันได้แล้ว โดยหลาย ๆ
บริษัทปรับใช้ HR Metric และมีการเริ่มใช้ Creative HR Metric
เพื่อจุดประสงค์ทางด้าน Employer Branding ใช้สนับสนุนวัฒนธรรมองค์กร เสริมสร้าง
Health work และใช้ชี้วัด Performance ของ Workplace ได้ด้วย 

การเพิ่มประสิทธิภาพของทีมสรรหาบุคลากร โดยใช้ HR Metric
มาเป็นตัวช่วยสามารถเป็นส่วนสำคัญให้กับบริษัทในการพัฒนาและปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงานได้
ตอนนี้เรากำลังปรับเปลี่ยนความสามารถของ HR
เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างให้กับบริษัทเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
แถมยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย สำหรับบทความเกี่ยวกับ HR Metric
ในตอนหน้าผมจะพูดถึงเรื่อง Creative HR Metric ที่ช่วยเสริมแรงให้ HR
ทีมอย่างสร้างสรรค์ อย่าลืมติดตามกันนะครับ

 

กำลังหาข้อมูลบริการและผลิตภัณฑ์ HR อยู่หรือเปล่า?



HR Explore แพลตฟอร์มแรกในไทยที่รวบรวม HR Products & Services มากที่สุด

มาพร้อมระบบเปรียบเทียบราคาเพื่อช่วยตัดสินใจ จะเป็น SMEs หรือธุรกิจใหญ่
ที่นี่มีครบ !





Post Views: 1,960


RELATION TAGS

 * # Partner Content
 * # Recruiting Metric


HREX.ASIA

 * 

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน
 * Facebook
   แชร์Facebook
   แชร์
   
   




บทความที่เกี่ยวข้อง

 * ESG สร้างธุรกิจให้ยั่งยืนด้วยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
   2023.07.24
 * 5 บทเรียนสุดสนุกจากการร่วมกิจกรรม “DRILL YOUR PURPOSE BOOTCAMP”
   เรียนรู้การบริหารจัดการคนสไตล์ AirAsia (แอร์เอเชีย)
   2023.07.24
 * Pet-Friendly Workplace : ออฟฟิศนี้มีหมาแมว
   2023.07.19
 * ห้ามพลาด! Learning Talk :
   เผยเคล็ดลับการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรจากประสบการณ์จริง !
   2023.07.19
 * คุยกับลูกน้องตัวต่อตัวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
   2023.07.19
 * แจกบริการเยียวยาสุขภาพใจ ตัวช่วย HR ชั้นดี ดูแลพนักงานอย่างมีความสุข
   2023.07.18


ประเภท

 * News (60)
 * Success Story (42)
 * HR People (19)
 * HR Insight (47)
 * HR Tech (27)
 * การสรรหาบุคลากร (59)
 * การพัฒนาองค์กร (155)
 * การบริหารงานบุคคล (114)
 * ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ (131)
 * Expert Content (29)
 * Partner Content (44)
 * Q&A (40)


บทความใหม่

 * 2023.07.24
   ESG สร้างธุรกิจให้ยั่งยืนด้วยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
 * 2023.07.24
   5 บทเรียนสุดสนุกจากการร่วมกิจกรรม “DRILL YOUR PURPOSE BOOTCAMP”
   เรียนรู้การบริหารจัดการคนสไตล์ AirAsia (แอร์เอเชีย)
 * 2023.07.19
   Pet-Friendly Workplace : ออฟฟิศนี้มีหมาแมว
 * 2023.07.19
   ห้ามพลาด! Learning Talk :
   เผยเคล็ดลับการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรจากประสบการณ์จริง !
 * 2023.07.19
   คุยกับลูกน้องตัวต่อตัวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ


HREX คืออะไร   HR Community HR Products & Services            
 * About Us / เกี่ยวกับเรา
 * Advertise With Us / ติดต่อลงโฆษณา
 * นโยบายความเป็นส่วนตัว

Copyright © HREX.asia