ir.rs.co.th Open in urlscan Pro
2600:9000:223d:7c00:9:b6c8:d9c0:93a1  Public Scan

URL: https://ir.rs.co.th/th/corporate-information/companys-business
Submission: On October 05 via api from US — Scanned from DE

Form analysis 0 forms found in the DOM

Text Content

 * EN
 * TH


 * เกี่ยวกับอาร์เอส
 * ผลิตภัณฑ์และบริการ
   * Commerce
   * Media & Entertainment
   * อาร์ อัลไลแอนซ์
 * นักลงทุนสัมพันธ์
   * หน้าหลักนักลงทุน
   * ข้อมูลบริษัท
   * ข้อมูลทางการเงิน
   * ข้อมูลราคาหลักทรัพย์
   * ข้อมูลผู้ถือหุ้น
   * การกำกับดูแลกิจการที่ดี
   * ห้องข่าว
   * การนำเสนอข้อมูล
   * สอบถามข้อมูลนักลงทุน
   * จุดเด่นในการลงทุน
 * ร่วมงานกับเรา
   * วัฒนธรรมองค์กร
   * Life@RS
   * ตำแหน่งงานที่เปิดรับ
 * ติดต่อ


นักลงทุนสัมพันธ์




OUTSTANDING INVESTOR RELATIONS AWARDS 2017 & 2020

ชื่อย่อหุ้น RS ราคาล่าสุด 14.60 THB เปลี่ยนแปลง +0.50 % เปลี่ยนแปลง 3.55%

ปริมาณซื้อขาย 6,061,943 ช่วงราคาระหว่างวัน 13.80 - 14.60 ช่วงราคาใน 52 สัปดาห์
13.40 - 18.40 ปรับปรุงเมื่อ 05 ต.ค. 2566 16:35


ทางลัดการค้นหา
ดาวน์โหลดเอกสารนักลงทุนสัมพันธ์
ปฏิทินนักลงทุนสัมพันธ์
ข่าวและสื่อ
ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
IR Menu
 * หน้าหลักนักลงทุน
 * ข้อมูลบริษัท
   * สารจากประธานกรรมการ
   * เป้าหมายหลัก
   * ย่างก้าวของอาร์เอส
   * ธุรกิจบริษัท
   * กลุ่มโครงสร้างบริษัท
   * คณะกรรมการบริษัท
   * โครงสร้างองค์กร
 * ข้อมูลทางการเงิน
   * ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
   * งบการเงิน
   * คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
 * ข้อมูลราคาหลักทรัพย์
   * กราฟราคาย้อนหลัง
   * ราคาย้อนหลัง
   * เครื่องคำนวณการลงทุน
 * ข้อมูลผู้ถือหุ้น
   * ข้อมูลพื้นฐานการลงทุน
   * โครงสร้างผู้ถือหุ้น
   * การประชุมผู้ถือหุ้น
   * ปฏิทินนักลงทุน
   * นโยบายและการจ่ายเงินปันผล
   * ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น
 * การกำกับดูแลกิจการที่ดี
   * นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
   * กฎบัตรคณะกรรมการ
   * นโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น
   * จรรยาบรรณทางธุรกิจ
   * กิจกรรมเพื่อสังคม
   * ข้อบังคับบริษัท
   * ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส
 * ห้องข่าว
   * ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
   * ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
   * สาระความรู้ by IR
   * ข่าวจากสื่อสิ่งพิมพ์
 * การนำเสนอข้อมูล
   * เอกสารนำเสนอและเว็บแคสต์
   * รายงานประจำปี / แบบ 56-1 / แบบ 56-1 One Report
   * Corporate VDO & Presentation
   * Analyst Recommendation
   * Investor Kits
 * สอบถามข้อมูลนักลงทุน
   * ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
   * อีเมลรับข่าวสาร
   * คำขอเยี่ยมชม
   * ข้อร้องเรียน / ข้อเสนอแนะ
   * ติดต่อนักวิเคราะห์
   * ถามตอบ
 * จุดเด่นในการลงทุน


ธุรกิจบริษัท


นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) (“อาร์เอส” หรือ “บริษัทฯ”) ได้ดำเนินการก่อตั้งในปี
พ.ศ. 2519 โดยเริ่มต้นจากการทำธุรกิจเพลงครบวงจร
ต่อมาได้ขยายธุรกิจสู่สื่อโทรทัศน์และวิทยุ บริษัทฯ ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน
และได้ทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546 ด้วยทุนจดทะเบียน
560 ล้านบาท และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)” โดย ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว จำนวน
972,496,946 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท

บริษัทได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โมเดล “Entertainmerce”
โดยดำเนินธุรกิจหลัก คือ

1.) ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์ (Entertainment)

ด้วยความชำนาญด้านธุรกิจสื่อและบันเทิงมากกว่า 40 ปี
ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์จึงเป็นรากฐานที่สำคัญของโมเดลธุรกิจ Entertainmerce
โดยบริษัทให้บริการ สื่อโทรทัศน์ ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 และ สื่อวิทยุ ผ่าน Cool
Fahrenheit 93 FM รวมถึงมีการจัดกิจกรรมทั้ง on-ground และ สื่อ online
เพื่อนำเสนอเครื่องมือทางการตลาดที่ครบวงจรให้กับแบรนด์

2.) ธุรกิจพาณิชย์(Commerce)

บริษัทฯ ได้เริ่มพัฒนาสินค้าสุขภาพและความงามออกจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ในปี 2557
โดยมุ่งหวังเพื่อเป็นเพื่อนซึ่งห่วงใยและดูแลสุขภาพของคนไทย หรือ “Wellbeing
Partner” โดยมีแบรนด์สินค้าภายในกลุ่มบริษัทฯ (In-house brand) ซึ่งพัฒนาโดย RS
Livewell ภายใต้แบรนด์ Well-U, Vitanature+, Camu C, Lifemate
รวมถึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้ผลิตและนำเข้าสินค้าเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับผู้บริโภค
และจัดจำหน่ายผ่านช่องทางของบริษัทเอง ทั้งผ่านการขายทางโทรศัพท์ (Telesale),
วิทยุ, โทรทัศน์, เว็บไซต์ และช่องทางของพันธมิตร เช่น ร้านค้าปลีกสมัยใหม่
(Convenience stores) ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional trade) และอื่นๆ
นอกจากนี้ บริษัทยังมีการพัฒนาระบบเพื่อใช้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า
เพื่อนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
พร้อมพัฒนาระบบหลังการขายให้มีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับความพึงพอใจและนำไปสู่การซื้อซ้ำ

3.) ธุรกิจเพลง และ ธุรกิจอื่นๆ (Music & Other)

ธุรกิจเพลงครบวงจรเป็นธุรกิจดั้งเดิมซึ่งดำเนินงานมากว่า 40 ปี บริษัทฯ
จึงมีมีฐานทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับเพลงจำนวนมาก หลากหลายแนวเพลง อาทิ
สิทธิ์งานดนตรีกรรม (เนื้อร้อง, ทำนอง) และ สิทธิ์งาน master sound recording
รวมกันมากกว่า 15,000
สิทธิ์ที่ได้รับความนิยมสูงและเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังที่มีรสนิยมทางดนตรีที่หลากหลาย
อีกทั้งบริษัทฯ
ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านธุรกิจเพลงเป็นพิเศษในการสร้างสรรค์งานเพลงใหม่ให้ได้รับความนิยมสูงและต่อยอดรายได้จากช่องทางต่างๆ
อาทิ รายได้จาก streaming platform, รายได้ค่าลิขสิทธิ์
และยังสามารถต่อยอดการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาได้หลากหลายรูปแบบ
โดยในปัจจุบันได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงจาก 3 ค่ายเพลงได้แก่ โรสซาวด์, กามิกาเซ่
และอาร์สยาม

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังขยายสู่ธุรกิจพัฒนาและผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ รวมถึงพัฒนา Smart
Marketing Platform “Pop coin” ซึ่งดำเนินธุรกิจผ่าน บริษัท โฟร์ท แอปเปิ้ล จำกัด
อีกทั้งยังได้ลงทุนใน บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จํากัด
ที่เป็นผู้ให้บริการด้านการเงินส่วนบุคคล และบริหารหนี้

ทั้งนี้ บริษัทยังคงมองหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆอยู่เสมอ
เพื่อสร้างระบบนิเวศของธุรกิจ (Eco system) ให้แข็งแกร่งและ
เติบโตเพื่อสามารถให้บริการที่ครอบคลุมในทุกมิติ


เป้าหมายหลัก (CORE PURPOSE)

“Life Enriching”


คติประจำองค์กร (MOTTO)

“Passion to Win”


เป้าหมายการดำเนินธุรกิจใน 5 ปีข้างหน้า (5-YEAR BUSINESS DIRECTION)

อาร์เอส เป็นองค์กรที่ทำธุรกิจร่วมกับ “โอกาส”
ไม่หยุดนิ่งและพร้อมที่จะปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อสร้างสรรค์โอกาสทางธุรกิจ
โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นความเป็นผู้นำ
และลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนในธุรกิจพาณิชย์ ผ่าน Entertainmerce Model
(เอ็นเตอร์เทนเมิร์ซ โมเดล) โดยขยายไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน
ให้มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของรายได้รวมและกำไรสุทธิของบริษัทฯ


การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา



บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนธุรกิจหลักขององค์กร จากธุรกิจสื่อไปสู่ธุรกิจพาณิชย์
ซึ่งใช้ศักยภาพจากธุรกิจสื่อซึ่งมีทั้งช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค
รวมทั้งความสามารถในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่หลากหลายเพื่อสร้างความบันเทิง
เพื่อดึงดูดและนำเสนอการขายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ
โดยเสิรมประสิทธิภาพด้วยการใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทฯ
ได้ขยายธุรกิจพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง
ทั้งการขยายความครอบคลุมของช่องทางการจัดจำหน่าย
และการพัฒนาความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยในปี 2565 บริษัทได้เข้าซื้อกิจการ ULife
เพื่อขยายสู่ธุรกิจขายตรงและสร้าง synergy บนฐานของกลุ่มธุรกิจ อีกทั้งได้จัดตั้ง
บริษัท อาร์เอส เพ็ท ออล จำกัด
เพื่อดำเนินธุรกิจการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอย่างครบวงจร
(One-stop service pet retail) นอกจากนี้ ยังเริ่มพัฒนา Popcoin- Smart marketing
platform ที่จะใช้ Big data เชื่อมต่อผู้บริโภค แบรนด์
และผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์เข้าด้วยกัน
โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยให้แบรนด์สามารถยกระดับการทำการตลาดสู่กลุ่มเป้าหมายด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
ในขณะผู้บริโภคก็มีความพึงพอใจที่สูงขึ้นจากที่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ
ที่ตรงความต้องการจากการเข้ารวมกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ โดยมี Popcoin
ซึ่งเป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility token)
เป็นตัวกลางในการใช้งานบนแพลตฟอร์ม
ซึ่งถือเป็นการเริ่มสร้างธุรกิจดิจิทัลบนฐานของธุรกิจเดิมทั้งพาณิชย์และเอ็นเตอร์เทนเมนต์
(รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในช่วง 3
ปีที่ผ่านมาแสดงในหัวข้อพัฒนาการที่สำคัญในปี 2563-2565)


ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

ปัจจุบัน อาร์เอส ดำเนินธุรกิจโดยแบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์,
ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์, ธุรกิจเพลงและอื่น ๆ
โดยมีสัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 50 มาจากธุรกิจพาณิชย์
ซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้ บริษัท อาร์เอส ลิฟเวลล์ จำกัด และ บริษัท อาร์เอส มอลล์
จำกัด ที่พัฒนาและจำหน่ายทั้งสินค้าที่พัฒนาเอง และสินค้าของพาร์ทเนอร์
ผ่านแพลตฟอร์ม RS Mall ช่องทางออนไลน์ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และอื่นๆ
อีกทั้งยังได้ขยายธุรกิจพาณิชย์สู่ธุรกิจขายตรงโดยผ่านบริษัท อาร์เอส คอนเน็ค จำกัด
ด้านธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์ แบ่งเป็น สื่อโทรทัศน์ ช่อง 8 ภายใต้บริษัท อาร์เอส
มัลติมีเดีย จำกัด และ สื่อวิทยุ Cool Fahrenheit 93FM ภายใต้ บริษัท คูลลิซึ่ม
จำกัด สำหรับธุรกิจเพลงและอื่นๆ
มีการดำเนินธุรกิจทั้งการพัฒนาเพลงและคอนเทนต์เพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ
การจัดเก็บรายได้ลิขสิทธิ์จากการนำเพลงซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ซึ่งช่วยเสริมระบบนิเวศทางธุรกิจ
(Ecosystem) ของบริษัทให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น อาทิ ธุรกิจด้านผลิตคอนเทนต์ อีเวนท์ และ
smart marketing platform ซึ่งดำเนินโดยบริษัท โฟร์ท แอปเปิ้ล จำกัด
(รายละเอียดการลงทุนผ่านบริษัทย่อย แสดงในหัวข้อโครงสร้างการถือหุ้น)


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ธุรกิจในปัจจุบันของบริษัทฯ ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์
ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ธุรกิจเพลงและอื่นๆ


โครงสร้างรายได้

ประเภทรายได้

2563

2564

2565

จำนวน
(ล้านบาท)

สัดส่วน
(ร้อยละ)

จำนวน
(ล้านบาท)

สัดส่วน
(ร้อยละ)

จำนวน
(ล้านบาท)

สัดส่วน
(ร้อยละ)

ธุรกิจพาณิชย์

2,381.8 63

63

2,263.4

63

1,714.5

49

ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์

1,148.7

30

1,078.7

30

1,421.9

40

ธุรกิจเพลงและอื่นๆ

244.2

7

230.7

7

396.4

11

รวมรายได้

3,774.7

100

3,572.8

100

3,532.8

100


ธุรกิจพาณิชย์ (COMMERCE)


1) ลักษณะผลิตภัณฑ์

ธุรกิจพาณิชย์ ดำเนินงานภายใต้ บริษัท อาร์เอส ลิฟเวลล์ จำกัด (“ลิฟเวลล์”), บริษัท
อาร์เอส มอลล์ จำกัด (“อาร์เอส มอลล์”), บริษัท อาร์เอส คอนเน็ค จำกัด (“RS
Conntect”) และ บริษัท อาร์เอส เพ็ท ออล จำกัด (“RS pet all”)

(1) บริษัท อาร์เอส ลิฟเวลล์ (“ลิฟเวลล์”) (เดิมชื่อ บริษัท อาร์เอส ไลฟ์สตาร์
จำกัด) เป็นผู้วิจัยค้นคว้า ออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม
โดยจัดหาผู้รับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacturer, OEM)
ให้เป็นผู้ดำเนินการผลิตสินค้าสำเร็จรูปให้กับบริษัท
ทั้งนี้ลิฟเวลล์มุ่งเน้นการนำเสนอสินค้าประเภทเพื่อสุขภาพและความงามซึ่งพัฒนาด้วยวัตกรรม
“Innovative Health & Wellness”
ผ่านการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพของผู้บริโภค
โดยมุ่งหวังให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ของลิฟเวลล์
แบ่งเป็น 4 แบรนด์หลัก ดังนี้

 1. “well u” (เวลยู) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
    ดูแลสุขภาพและความงามด้วยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ผสานพลังจากวัตถุดิบธรรมชาติ
    เพื่อดูแลสุขภาพองค์รวม
 2. “Vitanature+” (ไวตาเนเจอร์พลัส) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม
    ที่เน้นสารสกัดเข้มข้นจากสมุนไพรธรรมชาติ
    ผนวกกับภูมิปัญญาและนวัตกรรมที่ล้ำสมัย
 3. “CAMU C” (คามู ซี) เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์
    นวัตกรรมและคุณประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อดูแลสุขภาพ เสริมความมั่นใจให้คนยุคใหม่
    ผ่านผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างดีเยี่ยม เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
 4. “Lifemate” (ไลฟ์เมต) ผลิตภัณฑ์ Health & Wellness
    สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ผสมผสานนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์
    เพื่อดูแลสุขภาพองค์รวมของสัตว์เลี้ยงภายใต้แนวคิด Holistic Wellness
    สำหรับเพื่อนคู่ชีวิตของคุณ

สำหรับการพัฒนาและผลิตสินค้าแต่ละประเภท
ลิฟเวลล์ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยและผู้ผลิตสินค้ามาตรฐานสากลทั้งในและต่างประเทศ
โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลของตลาดร่วมกับสถาบันวิจัยและทดลองชั้นนำ
โดยใช้ฐานข้อมูลความต้องการของลูกค้าจากระบบซึ่งถูกรวบรวมจากช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆของบริษัท
รวมทั้งเทเลเซลล์
ซึ่งช่วยให้บริษัทเข้าใจถึงแนวโน้มและความต้องการของสภาพตลาดโดยรวมและความต้องการของผู้บริโภคเพื่อนำไปพัฒนาสินค้าที่ตรงความต้องการ
สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ well u และ Vitanature+
ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น มีช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน อาร์เอส
มอลล์ เป็นหลัก และได้ขยายสู่ช่องทางออนไลน์ผ่านออนไลน์มาร์เก็ตเพลสต่างๆ อาทิ
ช้อปปี้ และลาซาด้า สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ CAMU C
มีช่องทางการจำหน่ายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ (Convenience store)
เป็นหลักเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายที่รักสุขภาพให้สามารถซื้อบริโภคได้ง่ายทุกวันทุกเวลา
ในด้านผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง Lifemate
มีช่องทางการจัดจำหน่ายผลักผ่านร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional trade)
ซึ่งได้แก่ร้านค้าปลีกสำหรับสัตว์เลี้ยงกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ



(2) บริษัท อาร์เอส มอลล์ จำกัด (“อาร์เอส มอลล์”)
เป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพ
ซึ่งมีแพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ ทั้งนี้ อาร์เอส
มอลล์เป็นแพลตฟอร์มที่จำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อเสริมสุขภาพ
เพื่อการมีชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Good Health & Wellbeing)
ที่ได้รับการรันตีคุณภาพและผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา
พร้อมมุ่งมั่นเป็น “Wellbeing Partner” ของทุกคน
ให้ผู้บริโภคได้ใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความสุข และสุขภาพแข็งแรง
ด้วยสินค้าด้านสุขภาพ ความงาม แฟชั่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ภายในบ้าน
และอาหารสัตว์ ทั้งจากลิฟเวลล์ และสินค้าของพันธมิตรซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าโดยตรง
รวมทั้งสิ้นกว่า 600 รายการ โดยสินค้าต่างๆ นั้น ได้ถูกจัดสรรออกเป็น 4 หมวดหมู่ 1)
สุขภาพใจ 2) สุขภาพกาย 3) สุขภาพบ้านและสัตว์เลี้ยง และ 4)
สุขภาพทางสังคมและการเดินทาง

ในปีที่ผ่านมา อาร์เอส มอลล์ ได้เพิ่มความหลากหลายของการนำเสนอสินค้า
โดยช่องทางการทำการตลาดหลักมีทั้งผ่านออฟไลน์และออนไลน์ ประกอบด้วย

 1. รายการจำหน่ายสินค้าทางโทรทัศน์ ทั้งผ่านสื่อโทรทัศน์ของบริษัท ได้แก่
    ดิจิทัลทีวี ช่อง 8 และดิจิทัลทีวีช่องพันธมิตร
    ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้ชมได้รวมกันกว่า 5 ล้านคนต่อวัน
 2. สื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มของบริษัทฯ ได้แก่ เว็บไซต์ www.rsmall.com และ LINE
    SHOP (ไลน์ช้อป) ผ่าน @RS Mall ซึ่งมีผู้ติดตาม (Followers) รวมกันกว่า 828,000
    บัญชี รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำอื่นๆ เช่น Shopee และ Lazada ทั้งนี้
    อาร์เอส มอลล์ ได้ขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
    โดยให้บริการช่องทาง RS Mall แอปพลิเคชัน
    บนสมาร์ทโฟนเพื่ออำนวยความสะดวกให้การสั่งซื้อสินค้าง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
    และเปิดตัวร้าน RS Mall บน V-AVENUE BY AIS 5G
    ที่สร้างประสบการณ์ในการช้อปปิ้งเสมือนจริงให้กับลูกค้า
 3. ช่องทางเทเลเซลล์และ/หรือดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง
    เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อผ่านโทรศัพท์
    และการโทรออกเพื่อนำเสนอสินค้าที่โดนใจผ่านการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลที่ลูกค้าเคยใช้บริการ
    โดย ณ สิ้นปี 2565 มีฐานข้อมูลของลูกค้ากว่า 1.8 ล้านราย อีกทั้งได้นำเทคโนโลยี
    Predictive Dialing System หรือ PDS เข้ามาใช้เชื่อมต่อกับระบบ outbound call
    center ทำให้ได้ผลลัพธ์ในการติดต่อได้สูงสุด
    โดยลดการสูญเสียที่เกิดจากการโทรแล้วไม่มีผู้รับ โทรแล้วสายไม่ว่าง
    หรือโทรแล้วเข้าสู่ระบบฝากข้อความ อีกทั้งบริษัทได้พัฒนาระบบ PDS
    อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำระบบ Voice Analytic
    มาใช้วิเคราะห์เสียงสนทนาทางโทรศัพท์ การใช้ Artificial Intelligence (AI)
    เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและแม่นยำขึ้น
    รวมถึงการเรียนรู้ลูกค้าในเชิงลึกเพื่อสามารถนำมาพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ อาร์เอส มอลล์
ยังเล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์
ด้วยการใช้ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหลังการขาย (Customer Relationship
Management (CRM)) เข้ามาดูแลลูกค้าที่มียอดซื้อสูงสุด 7,000 รายแรก
โดยจัดกลุ่มเป็นลูกค้าระดับวีไอพี เพื่อสามารถนำเสนอบริการ
และโปรโมชั่นที่แตกต่างซึ่งคัดสรรโดยเฉพาะสำหรับลูกค้าระดับวีไอพีแต่ละราย
เพื่อสร้างความพึงพอใจ และรักษาฐานลูกค้าให้มีความภักดีต่อแบรนด์ อาร์เอส
มอลล์ในระยะยาว และสร้างยอดขายต่อรายของลูกค้ากลุ่มนี้ให้สูงยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับการจัดส่งสินค้า บริษัทฯ
ได้ว่าจ้างบริษัทขนส่งภายนอกเพื่อดำเนินการจัดส่งสินค้าสู่ผู้บริโภค
โดยสำหรับลูกค้าในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จะได้รับสินค้าภายในวันถัดจากวันที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ
และลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด จะได้รับสินค้าภายใน 1-5 วัน
โดยสามารถเลือกชำระเงินสด ณ ปลายทาง หรือชำระเงินผ่านบัตรเครดิตก็
ทั้งนี้ลูกค้ากว่าร้อยละ 90 ลูกค้าเลือกเป็นการชำระเงินสดปลายทาง



(3) บริษัท อาร์เอส คอนเน็ค จำกัด (“RS Conntect”)
ประกอบธุรกิจพาณิชย์ผ่านการขายตรง (Direct Sale) โดยในปี 2565 บริษัทฯ
ได้เข้าซื้อกิจการของหน่วยธุรกิจขายตรง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไลฟ์ จำกัด (ULife) จาก
บริษัท ยูนิลิเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด รวมถึงผลิตภัณฑ์แบรนด์ Aviance , Beyonde
และ I-Fresh
พร้อมทั้งทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาในระดับสากล

ทั้งนี้บริษัท อาร์เอส คอนเน็ค จำกัด ได้ขยายธุรกิจขายตรงเพิ่มเติม โดยแบ่งออกเป็น
2 โมเดล ได้แก่


 1. ULife เป็นธุรกิจขายตรงในรูปแบบ MLM (Multi level model)
    หรือการขายตรงในรูปแบบเครือข่าย
    ที่เน้นการขายผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับขยายเครือข่ายของทีมขาย
    โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค
    เน้นลูกค้ากลุ่มรายได้สูงถึงปานกลาง (Prestige and middle standard) เป็นหลัก
 2. De Beste เป็นธุรกิจขายตรงในรูปแบบ SLM (Single level model)
    หรือการขายตรงชั้นเดียว ที่ตัวแทนจำหน่าย (Distributors)
    จะรับสินค้าจากบริษัทและขายสู่ผู้บริโภค (End user) โดยตรง
    เน้นการจำหน่ายออนไลน์ผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ
    โดยเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามในระดับราคาเข้าถึงได้ง่าย
    มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่เป็นหลัก



(4) บริษัท อาร์เอส เพ็ท ออล จำกัด (“RS pet all”) จัดตั้งขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2565
เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
โดยมีเป้าหมายในการขยายธุรกิจค้าปลีกและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
เพื่อเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงครบวงจร


2) การตลาดและการแข่งขัน

ในปี 2565
เศรษฐกิจไทยได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงขึ้นจากความขัดแย้งในทวีปยุโรปซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
แม้ว่ารัฐบาลพยายามใช้มาตรการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ
มาตรการเยียวยาน้ำท่วม, โครงการคนละครึ่ง, โครงการช๊อปดีมีคืน
ซึ่งช่วยหนุนกำลังซื้อภาคเอกชนให้ฟื้นตัวได้ ในขณะที่ตลาด e-Commerce
ยังคงเติบโตต่อเนื่องจากความเคยชินกับการใช้บริการสั่งสินค้าอุปโภคบริโภคบนช่องทางออนไลน์จากช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมพาณิชย์ให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง
และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับปัจจัยบวกและฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก

ในปี 2565 ลิฟเวลล์ ได้มีการจัดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ ทีมขาย และทีมการตลาดผ่าน 4
แบรนด์หลัก
เพื่อสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และทำการตลาดสำหรับแต่ละแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น
รวมถึงมีการขยายช่องทางการจำหน่ายไปยังออนไลน์แพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นเพื่อสอดรับกับการเติบโตของตลาด
e-Commerce นอกจากนี้ยังคงเน้นการการสร้างคอนเทนต์การขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เพื่อสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคได้โดยตรงผ่านสื่อต่างๆของอาร์เอสมอลล์
ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนาสินค้าจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ทั้งนี้
ได้มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ซึ่งพัฒนาจากกระแสความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่ของตลาดในขณะนั้นเพื่อช่วงชิงโอกาสและรายได้จากตลาดที่มีผู้เล่นน้อยราย
อาทิ CAMU C พลัสกัญชง
ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพและต้องการทดลองคุณประโยชน์ของส่วนผสมใบกัญชง

สำหรับธุรกิจขายตรงในประเทศไทยเป็นช่องทางการขายที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
โดยประเทศไทยมีตลาดขายตรงใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออนเฉียงใต้ บริษัทฯ
ได้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจนี้จึงได้เข้าซื้อหน่วยธุรกิจขายตรง “ULife”
จากบริษัท ยูนิลิเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีฐานสมาชิกเครือข่ายกว่า 1.5 แสนคน
และมีความพร้อมทั้งช่องทางการจัดจำหน่าย แบรนด์ผลิตภัณฑ์ ระบบบริหารจัดการ Software
ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์
เรียกได้ว่าเป็นการเข้าสู่ธุรกิจขายตรงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อ Ulife
เข้ามาอยู่ภายใต้ RS Group จะยิ่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น จากเดิมที่
ULife เน้นการขายผลิตภัณฑ์สินค้าระดับพรีเมี่ยม
ก็ได้มีการขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น
โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่ม นอกจากนี้
ยังมีการพัฒนารูปแบบการขายใหม่ ในรูปแบบ SLM (Single Level Model) ภายใต้แบรนด์ “De
Beste” ที่เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ไม่เน้นการสร้างเครือข่าย
แต่เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์-โซเชียลคอมเมิร์ซ จับฐานลูกค้าระดับกลางขึ้นไป
(Mass) ผ่านตัวแทนจำหน่ายในรูปแบบพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
ถือเป็นการพัฒนาธุรกิจขายตรงของ RS Group และเป็นการเติมเต็ม eco system
ของโมเดลธุรกิจ Entertainmerce ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

สำหรับ RS pet all ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น
และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2562
ทำให้ผู้คนหากิจกรรมทำในระหว่างที่ใช้เวลาอยู่บ้าน
โดยหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
คือการเลี้ยงสัตว์และดูแลเปรียบเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization
trend) ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงจึงใช้ความพิถีพิถันมากขึ้น
และจากการที่บริษัทฯ ได้เข้าสู่ธุรกิจอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านแบรนด์ Lifemate
ทำให้เห็นถึงโอกาสและแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง
ที่มีโอกาสในการเติบโตราว 8-9% ต่อปีในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า
และการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ยังเป็นลักษณะ Blue ocean
ที่ยังไม่มีใครเป็นเจ้าตลาดหลัก บริษัทฯ จึงได้มีการจัดตั้ง บริษัท อาร์เอส เพ็ท
ออล จำกัด
โดยมุ่งหวังที่จะเป็นผู้ให้บริการทางด้านสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอย่างครบวงจรในอนาคต


3) การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายในของทั้ง อาร์เอส ลิฟเวลล์ และ อาร์เอสคอนเน็ค
เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาสินค้าใหม่ด้วยร่วมมือกับสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในไทยและต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้คิดค้นสูตรส่วนผสมที่สำคัญในแต่ละผลิตภัณฑ์
เมื่อได้ส่วนผสมหรือสารสกัดที่สำคัญแล้วจะนำมาว่าจ้างผู้ผลิต(Original Equipment
Manufacturer, OEM) ให้เป็นผู้ดำเนินการผลิตสินค้าสำเร็จรูปให้กับบริษัท


ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์

ดำเนินธุรกิจภายใต้ บริษัท อาร์เอส มัลติมีเดีย จำกัด

ประกอบด้วย 2 สื่อหลัก ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุ

ธุรกิจสื่อโทรทัศน์


1) ลักษณะผลิตภัณฑ์



บริษัท อาร์เอส มัลติมีเดีย จำกัด ให้บริการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ “ช่อง 8”
ภายใต้คอนเซปต์ “ใครๆ ก็ดูช่อง 8 กดเลข 27”
นำเสนอคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ชมโทรทัศน์ส่วนใหญ่ของประเทศ
ด้วยคอนเซปต์ที่เข้าถึงผู้คนได้หลากหลายเพศและวัย จึงมีฐานผู้ชมที่มากกว่า 8
ล้านคนทั่วประเทศ โดยเน้นการนำเสนอคอนเทนต์ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ละคร กีฬา และข่าว
โดยในปีที่ผ่านมาได้ยกระดับเนื้อหาทั้ง 3
ประเภทเพื่อสร้างประสบการณ์ในการรับชมที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 * คอนเทนต์กีฬา เน้นรายการแข่งขันกีฬามวยที่เข้มข้น และสร้างเรตติ้งอันดับหนึ่ง
   อาทิ “มวยไทยซุปเปอร์แชมป์” “มวยฮาร์ดคอร์ มวยพันธุ์ดุ” และ
   ทัวร์นาเมนท์มวยไทยระดับโลกอย่าง “ไทยไฟท์”
   ยกระดับการแข่งขันมวยไทยขึ้นสู่ระดับสากล
 * คอนเทนต์ประเภทละคร ผลิตละครคุณภาพในหลากหลายแนว อาทิ ดราม่า แฟนตาซี ลี้ลับ
   และความเชื่อ อาทิ บ่วงใบบุญ, ร่านดอกงิ้ว, เล่ห์ลุนตยา, เรือนชฎา
   อีกทั้งยังปรับปรุงละครเก่า เพื่อนำมาออกอากาศใหม่
   ด้วยการตัดต่อและเสริมความพิเศษ เพิ่มความน่าสนใจ
   ส่งผลให้เรตติ้งรวมยังคงอยู่ในระดับสูง
 * คอนเทนต์ข่าว ปรับรูปแบบด้วยคอนเซปต์ “รวดเร็ว เจาะลึก ครอบคลุม”
   ด้วยข้อมูลข่าวที่เร็ว ลึก และกว้างมากขึ้น
   รวมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์ข่าวตามภูมิภาคครอบคลุมทั่วประเทศ
   มีทีมข่าวภาคสนามตัวจริงกระจายทุกจุดอยู่ทุกพื้นที่และเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง
   พร้อมรายงานข่าว สดกระชับฉับไว เสริมทัพทีมข่าวเบื้องหน้าเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้นำคอนเทนต์ดังจากต่างประเทศมาออกอากาศ เพื่อดึงผู้ชมกลุ่มใหม่ๆ
เพื่อขยายฐานไปสู่ผู้ชมที่ชื่นชอบคอนเทนต์ซีรีส์จากเอเชีย อาทิ เกาหลี จีน
และอินเดีย ส่งผลให้ช่อง 8
ยังคงมีเรตติ้งในอันดับผู้นำของสถานีโทรทัศน์ช่องรายการทั่วไป ประเภทความคมชัดปกติ
(Variety – SD) จากการสำรวจของ AGB Nielsen Media Research (Thailand) ตลอดปี 2565

ด้วยกลยุทธ์ “เก้าอี้ 4 ขา”
เพื่อสร้างรายได้จากหลากหลายช่องทางและไม่พึ่งพิงรายได้เฉพาะการขายโฆษณาเพียงอย่างเดียว
ช่อง 8 จึงมีรายได้จาก 4 ช่องทางหลัก ได้แก่

 1. รายได้โฆษณาจากลูกค้าซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าและบริการ
    ด้วยการทำงานเชิงรุกเพื่อนำเสนอความคิดสร้างสรรค์เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการตามโจทย์ทางการตลาดของลูกค้าให้บรรลุเป้าหมาย
 2. รายได้โฆษณาจากอาร์เอส มอลล์ ซึ่งเป็นลูกค้าภายในกลุ่มบริษัท ซึ่งใช้ช่อง 8
    เป็นเครื่องมือหลักในการนำเสนอสินค้าทั้งในรูปแบบทอล์คโชว์ และโฆษณา
    เพื่อนำเสนอรายละเอียดและคุณประโยชน์ของสินค้าในเชิงลึก
 3. รายได้ลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากคลังเดิมและที่ผลิตใหม่ โดยจำหน่ายผ่านผู้ให้บริการ
    OTT (Over the top) อาทิ AIS PLAY, TRUE ID, VIU และ WeTV
    ซึ่งการเติบโตที่สูงสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน
    และการจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ไปยังต่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน และจีน
 4. รายได้จากการจัดอีเว้นท์ ซึ่งเป็นการต่อยอดธุรกิจจากคอนเทนต์ประเภทต่างๆ
    ที่ออกอากาศ
    โดยสร้างรายได้จากแบรนด์ซึ่งต้องการสร้างความผูกพันกับบริโภคทั่วประเทศ
    โดยเฉพาะหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายในปีที่ผ่านมา
    และการจัดกิจกรรมกลับมาดำเนินได้เป็นปกติ ส่งผลให้รายได้ประเภทนี้เติบโตสูง


2) การตลาดและการแข่งขัน

อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการชะลอตัว
จากภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
ซึ่งส่งผลโดยตรงต่องบประมาณการตลาดของแบรนด์ต่างๆ
แต่ได้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565
จากการยกเลิกมาตรการที่เกียวข้องกับโควิด-19 และส่งผลให้มูลค่าอุตสาหกรรมโฆษณารวมปี
2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 จากปีก่อน และมีมูลค่ารวม 118,678 ล้านบาท

สื่อโฆษณาโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนการใช้งบโฆษณาสูงที่สุดที่ร้อยละ 53.8
ของงบโฆษณาโดยรวม โดยค่าใช้จ่ายโฆษณาบนสื่อโทรทัศน์มีมูลค่ารวมเท่ากับ 62,664
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.6 จากปีก่อน
ในทางกลับกันสื่อโฆษณาออนไลน์กลับมีการเติบโตและมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ
7.5 จากปีก่อน
โดยอุตสาหกรรมโทรทัศน์มีการแข่งขันที่สูงเพื่อแย่งชิดเม็ดเงินที่ทรงตัว
ทั้งนี้แม้ว่าจำนวนช่องทีวีดิจิทัลจะมีจำนวนลดลงจากการคืนใบอนุญาตเหลือเพียง 18
ช่องจาก 24 ช่องในปี 2562
แต่เม็ดเงินโฆษณายังคงกระจุกตัวอยู่ในช่องผู้นำหลักเท่านั้น

ด้วยภาพรวมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ที่มีการแข่งขันสูง
ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต่างก็ได้ปรับตัวเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมโดยการขยายช่องทางการนำเสนอคอนเทนต์ไปสู่แพลตฟอร์มที่หลากหลายมากขึ้น
ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปรับชมคอนเทนต์ผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์
ด้วยการเพิ่มช่องทางการรับชมผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ อาทิ เฟซบุ๊ค ยูทูป
ประกอบกับการขายคอนเทนต์ให้กับ OTT TV (Over-the-Top TV)
ซึ่งถือเป็นการสร้างรายได้จากกลุ่มผู้ชมบนช่องทางออนไลน์
และฐานผู้ชมจากตลาดต่างประเทศอีกด้วย

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจสื่อและบันเทิงที่ยาวนาน ส่งผลให้บริษัทฯ
มีศักยภาพในการผลิตคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายและมีเรตติ้งในระดับที่สูง โดยช่อง
8 ได้วางกลยุทธ์การตลาดที่ชัดเจน
โดยมุ่งสร้างสรรค์คอนเทนต์สำหรับกลุ่มผู้ชมอายุมากกว่า 35 ปี
ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่ยังรับชมความบันเทิงผ่านช่องทางโทรทัศน์
และมีฐานจำนวนที่กว้างจากทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง
ซึ่งจะช่วยต่อยอดไปสู่ธุรกิจพาณิชย์เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆที่เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมายนี้

นอกจากนี้ ช่อง 8
ได้เล็งเห็นโอกาสในการขายลิขสิทธิ์ทั้งในตลาดต่างประเทศและตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ
OTT ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
สอดรับกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล
จึงเดินหน้าขยายฐานผู้ชมกลุ่มนี้ด้วยการสร้างพาร์ทเนอร์ชั้นนำ
รวมถึงผลิตคอนเทนต์ใหม่เพื่อนำไปฉายบนช่องทางของวิดีโอสตรีมมิ่ง โดยมีกลุ่มลูกค้า
OTT ซึ่งนำคอนเทนต์ไปเผยแพร่ได้แก่ ได้แก่ AIS Play, True ID, Pops, Viu, iQiyi,
WeTV เป็นต้น


3) การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

บริษัทฯ มีดาราศิลปินและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตคอนเทนต์
โดยคอนเทนต์ที่นำมาออกอากาศทางช่อง 8 มาจากการผลิตทั้งแบบ In-house production
และการจ้างผลิต โดยบริษัทมีพันธมิตรที่เป็นบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีการจัดหาคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศ
เพื่อสร้างความหลากหลายของประเภทคอนเทนต์ที่นำเสนอ
และตอบสนองต่อความต้องการรับชมคอนเทนต์ของผู้ชมในวงกว้าง

ธุรกิจสื่อวิทยุ


1) ลักษณะผลิตภัณฑ์

บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด ดำเนินธุรกิจให้บริการสื่อวิทยุผ่านระบบคลื่นความถี่ FM
93.0 MHz หรือ “คูลฟาเรนไฮต์” และผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.COOLISM.net
รวมถึงแอปพลิเคชั่นคูลลิซึ่มบนสมาร์ทโฟน
โดยมีกลยุทธ์การสร้างรายได้จากหลากหลายช่องทางผ่าน “แม่น้ำ 3 สาย” หรือรายได้จาก 3
ช่องทางหลัก ได้แก่

แม่น้ำสายที่ 1 COOLfahrenheit (ธุรกิจคลื่นเพลง) สร้างรายได้จากโฆษณา

แม่น้ำสายที่ 2 COOLive (ธุรกิจคอนเสิร์ตและอีเวนท์) สร้างรายได้จากบัตรเข้าชมงาน
รวมถึงรายได้สปอนเซอร์จากแบรนด์ต่างๆ ที่เป็นผู้สนับสนุนการจัดงาน

แม่น้ำสายที่ 3 COOLanything (ธุรกิจพาณิชย์) รายได้จากการขายสินค้า
โดยการเปลี่ยนผู้ฟังเป็นผู้ซื้อ โดยการนำเสนอสินค้าและบริการผ่านแอปพลิเคชัน
COOLISM ภายใต้คอนเซปต์ “ฟังเพลงได้ ช้อปเพลิน ในแอปเดียว”

สถานีวิทยุ

คูลฟาเรนไฮต์

ผู้ให้สัมปทานคลื่นวิทยุ

สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ

วันและเวลาออกอากาศ

24 ชั่วโมง ทุกวัน

สัญญาณส่งครอบคลุมพื้นที่

กรุงเทพฯ ปริมณฑล และทั่วประเทศ ผ่านออนไลน์และสมาร์ทโฟน

แนวคิด (Concept)

Music Lifestyle Content

กลุ่มผู้ฟังเป้าหมายหลัก

Urbanista อายุระหว่าง 18-44 ปี

คูลฟาเรนไฮต์ เป็นสถานีวิทยุที่นำเสนอเพลงไทยสากลสำหรับกลุ่มคนเมือง Urbanista
อายุระหว่าง 18-44 ปี ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ
มีผู้ชมผ่านทั้งออนแอร์และออนไลน์รวมกันกว่า 3.9 ล้านรายต่อเดือน
เติบโตขึ้นต่อเนื่องในรอบ 10 ปี และเป็นสถานีได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ฟังสูงสุด
ด้วยทีมคูลเจมืออาชีพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
และนำเสนอกิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันกับกลุ่มผู้ฟังซึ่งตอบสนองไลฟ์สไตลของกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
อาทิ
และการจัดกิจกรรมที่ตอบสนองไลฟสไตล์และเปิดโลกทัศน์ของกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
โดยมีกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาทิ COOL Outing (คูล เอาท์ติ้ง) Ink Eat All
Around (อิ๊งค์ อีท ออล อะราวด์) และ COOL Music Fest

คูลฟาเรนไฮต์
ได้ขยายช่องทางการรับฟังสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
และยังคงรักษาแพลตฟอร์มวิทยุควบคู่กันไป ในรูปแบบ Hybrid
เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการรับฟัง ไม่ว่าผู้ฟังจะอยู่ที่ใดก็ตาม
และยังเป็นการขยายสู่ฐานผู้ฟังรุ่นใหม่ที่นิยมใช้ช่องทางออนไลน์ต่างๆในการเข้าถึงคอนเทนท์

รายได้จากการจัดอีเว้นท์ และคอนเสิร์ต ผ่าน “COOLive”
ถือเป็นอีกหนึ่งรายได้หลักของคูลลิซึ่ม
เพื่อช่วยลดผลกระทบจากภาพรวมสื่อโฆษณาวิทยุที่หดตัว โดยอีเว้นท์ต่างๆ ที่ CooLive
สร้างสรรค์นั้น ได้รับความเชื่อถือ
และมั่นใจจากทั้งผู้ชมและสปอนเซอร์มากว่ามาอย่างต่อเนื่อง
โดยหลังจากการคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565
ส่งผลให้สามารถจัดคอนเสิร์ตได้อย่างเต็มรูปแบบ โดย 2 คอนเสิร์ตใหญ่ทั้ง Kamikaze
Party และ RS Meeting Dance Marathon
ต่างได้รับการตอบรับอย่างดีและสามารถจำหน่ายบัตรหมดทุกที่นั่งตั้งแต่วันแรกที่เปิดขาย

คูลเอนนี่ติง
เป็นการสร้างรายได้จากการขายสินค้าโดยการเปลี่ยนผู้ฟังให้กลายเป็นผู้ซื้อ (Listener
to Customer) ผ่านการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์บนแอปพลิเคชั่นคูลลิซึ่ม
ซึ่งผู้ฟังสามารถฟังเพลงและช้อปปิ้งออนไลน์ไปพร้อมกัน
ทั้งนี้คูลเอนนี่ติงได้ทำงานร่วมกับหน่วยธุรกิจพาณิชย์เพื่อคัดสรรสินค้าที่ตรงกับความชอบของกลุ่มผู้ฟังคูลฟาเรนไฮต์
โดยลักษณะสินค้าจะมีความแตกต่างจากสินค้าบนช่องทางพาณิชย์อื่นๆ ของบริษัทฯ
ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายแตกต่างออกไป


2) การตลาดและการแข่งขัน

ค่าใช้จ่ายโฆษณาอุตสาหกรรมสื่อวิทยุมีการฟื้นตัวที่ดีในปีที่ผ่านมา
จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19
ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายโฆษณาบนสื่อวิทยุของปี 2565 มีมูลค่ารวมเท่ากับ 3,456 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 จากปีก่อน โดยสื่อโฆษณาวิทยุถือเป็นสื่อหลักที่แบรนด์ต่างๆ
ให้ความสนใจและเลือกใช้เป็นสื่อหลักสื่อหนึ่งในการวางแผนการตลาด
โดยลูกค้าจะเลือกซื้อสื่อโฆษณากับสถานีที่ได้รับความนิยมสูงอันดับต้นเป็นหลัก
ประกอบกับการพิจารณาปัจจัยด้านราคาเพื่อประเมินความคุ้มค่าต่อเม็ดเงินโฆษณาที่จะได้รับเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง

บริษัทฯ จึงนำจุดแข็งจากเรตติ้งอันดับที่ 1
ซึ่งผู้ฟังมีความผูกพันเหนียวแน่นทั้งบนออนแอร์และออนไลน์ มาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำเสนอ
CPM หรือ Cost per Thousand ซึ่งเปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนผู้ฟังและราคาโฆษณาต่อหน่วย
ให้มีความคุ้มค้า เพื่อแบรนด์ลูกค้าได้ใช้เม็ดเงินโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด อีกทั้ง ยังมีการสร้างแพคเก็จการขายใหม่ๆ
ที่ขายรวมกับสื่อภายใต้แบรนด์คูลลิซึ่ม อย่างครบวงจรทั้งออนแอร์ ออนไลน์
และออนโมบาย ด้วยราคาที่คุ่มค่ามากกว่าหากเทียบกับคู่แข่ง ซึ่งส่งผลให้คูลฟาเรนไฮต์
เป็นคลื่นวิทยุที่มีส่วนแบ่งการตลาดในสื่อโฆษณาวิทยุสูงที่สุด

นอกจากนี้ จากพฤติกรรมผู้ฟังวิทยุซึ่งนิยมรับฟังผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มขึ้น
และเติบโตสูงในระดับร้อยละ 10-20 โดยมีระยะเวลาการรับฟังเฉลี่ยในระดับ 1.34
ชั่วโมง/วัน บริษัทฯ จึงได้มุ่งเน้นการพัฒนาช่องทางออนไลน์
ทั้งจากแอปพลิเคชั่นคูลลิซึ่ม
และการร่วมพันธมิตรกับมิวสิคสตรีมมิ่งแอปพลิเคชั่นชั้นนำ อาทิ JOOK, Apple Music
และ Google Assistant เพื่อขยายฐานผู้ฟังที่มีอายุต่ำลง
และสร้างความหลากหลายของช่องทางการรับฟัง


3) การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

บริษัทฯ
ยังคงส่งเสริมให้นักจัดรายการวิทยุแต่ละคนเสริมศักยภาพของตนเองให้มีความรู้และทักษะที่หลากหลาย
โดยเฉพาะความรู้เบื้องต้นทางการตลาด เทคโนโลยี
และการใช้สื่อออนไลน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พร้อมทั้งสามารถดำเนินรายการตามรูปแบบของรายการที่วางไว้ให้สอดคล้องกับรสนิยมของกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย
ปัจจุบันนักจัดรายการของบริษัทฯ
ยังต้องเป็นผู้มีทักษะในการเป็นผู้ดำเนินรายการในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (On
Ground) เพื่อรองรับงานกิจกรรมพิเศษ (Event)
เพื่อส่งเสริมการขายทั้งในส่วนของการโฆษณาให้ลูกค้า
รวมถึงสินค้าของธุรกิจพาณิชย์ของบริษัทฯ ควบคู่กันไป

นอกจากนี้ บริษัทฯ
ได้เลือกใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการออกอากาศแบบอัตโนมัติซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากล
และมีการอัพเดทซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อความทันสมัย
และคุณภาพในการออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุระบบ FM และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ
ที่เข้าถึงทุกอุปกรณ์สื่อสาร


ธุรกิจเพลง


1) ลักษณะผลิตภัณฑ์

ธุรกิจเพลงของอาร์เอสที่เป็นธุรกิจต้นน้ำมากว่า 40 ปี
ซึ่งผ่านการทรานส์ฟอร์มและดิสรัปชันทั้งเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อม ซึ่งผลักดันให้ RS
MUSIC มีการพัฒนาจากความนิยมของผู้ฟังจากหลากหลายยุคสมัยจนกลายเป็น Intellectual
Properties ที่ยังคงความสดสนุก ทั้งนี้ บริษัทฯ
มีรูปแบบคอนเทนต์ที่แตกต่างจากการทำค่ายเพลงแบบเดิมๆ
เพราะธุรกิจเพลงของอาร์เอสไม่ได้เป็น Music Label แต่เป็น Music Content Recreation
เพื่ออยู่กับคนในทุกไลฟ์สไตล์

ธุรกิจเพลงของอาร์เอสมีการดำเนินงานในลักษณะครบวงจรในทุกมิติ
เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่หลากหลาย ตรงความต้องการสำหรับทั้งตลาด กลุ่มเป้าหมาย
และศิลปิน โดยการวางกลยุทธ์สื่อและการตลาด การบริหารศิลปิน
และการบริหารคอนเทนต์เพลง ผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งในสื่อออนไลน์ เช่น สตรีมมิ่ง
โซเชียลมีเดีย ดาวน์โหลด และออฟไลน์ เช่น โทรทัศน์ อีเว้นท์ และโชว์บิซต่างๆ


RS MUSIC มีแกนการทำงาน 2 แกนหลักคือ


CONTENT CREATION

การสร้างคอนเทนต์ร่วมกับ Artist, Partner, Creator และ Influencer
เพื่อให้เกิดคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ทางการตลาดและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค
โดยดำเนินงาน ภายใต้ 3 ค่ายเพลง ได้แก่ Rsiam (อาร์สยาม) RoseSound (โรสซาวด์) และ
Kamikaze (กามิกาเซ่) และการทำงานร่วมกับศิลปินและพันทมิตร


CONTENT MONETIZATION

การต่อยอดบนสินทรัพย์ (Asset) ของธุรกิจเพลง
เพื่อนำไปพัฒนาสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวเนื่อง
และสร้างมูลค่าเพิ่มใหกับบทเพลงที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ
Digital Service Platform, Social Media, Copyright Management
และในรูปแบบใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น NFT, Metaverse

รายได้หลักจากการประกอบธุรกิจเพลง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

 1. รายได้จากการใช้เพลงผ่านทางระบบดิจิทัล (Digital Content)
    ทั้งในรูปแบบการฟังสตรีมมิ่งออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น JOOX, Spotify,
    Apple Music การชมมิวสิควิดีโอออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น YouTube, Facebook,
    AIS play
    รวมทั้งรายได้จากการรับชมคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ใหม่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียซึ่งมีฐานแฟนคลับมากกว่า
    50 ล้านบัญชี
 2. รายได้จากอีเว้นท์และโชว์บิซ (Event and Showbiz) ของศิลปินในสังกัด จากงานแสดง
    งานโชว์ของศิลปินตลอดทั้งปี
    รวมทั้งการสร้างรายได้จากการจัดหาสปอนเซอร์สู่การเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ หรือ
    พรีเซนเตอร์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งทำผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งออฟไลน์
    หรือออนไลน์บนโซเชียลมีเดียของศิลปิน
 3. รายได้จากการบริหารลิขสิทธิ์เพลง
    จากการบริหารจัดเก็บการเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงโดยบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย
    จำกัด ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บลิขสิทธิ์ผลงานต่างๆ
    ที่ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ให้กับบริษัทฯ


2) การตลาดและการแข่งขัน

จากพฤติกรรมการฟังเพลงของผู้บริโภคที่เปลี่ยนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยใช้ชีวิตอยู่ในที่พักอาศัยมากขึ้นจากการ Work from Home
จึงมีเวลาส่วนตัวเพิ่มขึ้นและมีความต้องการฟังเพลงเพื่อสร้างความผ่อนคลาย
ในขณะที่กระแสการรับฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่งก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากความสะดวกซึ่งผู้ใช้งานสามารถรับชมวิดีโอหรือฟังเพลงได้ทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการ
ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาฟังเพลงออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ
ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสของธุรกิจเพลงที่มีคลังเพลง
และลิขสิทธ์ของคอนเทนท์จะสามารถสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ฟังเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา
ภายใต้ต้นทุนการจัดจำหน่ายที่ต่ำลง
อย่างไรก็ตามแพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโลโลยีออนไลน์ก็ถือเป็นโอกาสสำหรับค่ายเพลงอิสระ
และศิลปินอิสระซึ่งจะสามารถสร้างสรรค์งานเพื่อนำออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วภายใต้งบประมาณที่ต่ำ
จึงส่งผลให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจเพลงจำนวนมากได้เริ่มสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบที่หลายหลายออกสู่ตลาด

บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับหารายได้จากศักยภาพของคลังเพลงเก่าและลิขสิทธ์ของบทเพลง
ทั้งการนำมาปรับรูปแบบใหม่ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน
และการสร้างสรรค์เพลงใหม่จากศักยภาพของทีมงานที่ประสบความสำเร็จสูง
รวมถึงขยายช่องทางสู่โซเชียลมีเดียบนแพลตฟอร์มต่างๆ
ที่หลากหลายและปรับเปลี่ยนไปตามกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
และตรงตามไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม


3) การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

การวางนโยบายในการเปิดโอกาสให้กับกลุ่มศิลปินใหม่ นักแต่งเพลง
และช่องทางสร้างสรรค์งานเพลงหรือช่องทางสื่อในรูปแบบใหม่
เพื่อพัฒนาและยกระดับงานเพลงของอาร์เอสให้ทันสมัยและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา
พิจารณาศิลปินที่มีไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น
ไม่เพียงแค่มีความสามารถในการร้องเพลงเพียงอย่างเดียว
รวมถึงการวางนโยบายการผลิตผลงานในจำนวนที่เหมาะสม
เน้นการให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน และการดูแลเพลงเมื่อออกสู่ตลาดอย่างใกล้ชิด
โดยเน้นที่การสื่อสารร่วมกับตัวศิลปินในช่องทางโซเชียลมีเดียที่ดูแลร่วมกัน
เพื่อทำให้การผลิตผลงานแต่ละโปรเจคเป็นไปตามการวางแผนในขั้นต้น
และมีการวัดผลทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงการตอบรับของกลุ่มเป้าหมาย
ผ่านตัววัดในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ


NEWS

ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์


การปรับสิทธิของ RS-W4

03.10.2566



ข่าวแจ้งสื่อมวลชน


เฮียฮ้อ ประกาศพร้อมเขย่าวงการเพลงไทย

27.04.2566



สาระความรู้ by IR


"กินทิ้ง กินขว้าง สร้างภาวะโลกร้อนโดยไม่รู้ตัว"

02.06.2564


ดาวน์โหลด


แบบ 56-1 ONE REPORT 2565


ไตรมาสที่ 2/2566


OPPORTUNITY DAY Q2/2023


กำหนดการใช้สิทธิของ RS-W4




สอบถามข้อมูลนักลงทุน

Contact us

 * ที่อยู่
   
   บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
   27 อาคาร อาร์เอสกรุ๊ป ถนนประเสริฐมนูกิจ
   แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กทม. 10900

 * แผนที่

 * อีเมล
   
   info@rs.co.th

 * สมัครงานกับเรา ที่นี่

 * เบอร์โทรศัพท์
   
   02-037-8888

 * ติดตามเราได้ที่
   
   Facebook Twitter Instagram LinkedIn

 * นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 * ข้อกำหนดและเงื่อนไข
 * การจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์

© 2020 RS GROUP

We use cookies to improve your experience on our site and to show you relevant
advertising. Read our privacy policy and our cookies consent

Accept