dijitaldee.blogspot.com
Open in
urlscan Pro
2a00:1450:4001:82b::2001
Public Scan
URL:
https://dijitaldee.blogspot.com/2020/05/4-double-diamond-design-thinking-process.html
Submission: On July 14 via api from US — Scanned from DE
Submission: On July 14 via api from US — Scanned from DE
Form analysis
0 forms found in the DOMText Content
วิชาหลักการคิดเชิงออกแบบและนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 บทที่ 4 โมเดลเพชรคู่ (DOUBLE DIAMOND) กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (DESIGN THINKING PROCESS) ที่นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม โมเดลเพชรคู่ (DOUBLE DIAMOND) กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (DESIGN THINKING PROCESS) ที่นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) นั้นมีการนำมาประยุกต์ใช้และสร้างเป็นโมเดลขึ้นหลายรูปแบบ และหนึ่งในโมเดลที่นิยมนำมาใช้กับงานบริหารจัดการตลอดจนสร้างสรรค์การทำงานให้กับองค์กรก็คือโมเดลเพชรคู่ หรือ Double Diamond ที่ได้รับความนิยมในระดับสากลนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่เรียกง่ายๆ ว่า 4D ดังนี้ แหล่งอ้างอิง : Design Council Double Diamond – Design Thinking Process * 1.Discover – ทำความเข้าใจผู้บริโภคเพื่อมองเห็นถึงปัญหา * 2.Define – คัดกรองและจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการจะแก้ไข * 3.Develop – ระดมไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหา * 4.Deliver – นำไอเดียที่ดีที่สุดไปพัฒนาต่อ และทดลองใช้ ขั้นตอนที่ 1 : ค้นพบ – DISCOVER ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการการคิดเชิงออกแบบทุกครั้งเรามักหยิบเอาปัญหามาเป็นโจทย์สำคัญในการเริ่มต้น ในขั้นตอนแรกนี้ก็คือการค้นพบปัญหาแล้วทำความเข้าใจกับปัญหาให้ลึกซึ้งมากที่สุด หลากหลายมิติที่สุด เพื่อที่จะนำไปสู่การหาทางออกที่ดีและตอบโจทย์มากที่สุด ขั้นตอนที่ 2 : บ่งชี้ / กำหนด – DEFINE หลังจากที่เรามองปัญหาอย่างรอบด้านแล้ว ให้นำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กำหนดหรือบ่งชี้ว่าเป็นปัญหาอะไร ประเภทไหน เพื่อให้เข้าใจลักษณะของปัญหาให้ได้ชัดเจนที่สุดเพียงประเด็นเดียว เพื่อที่จะได้มีจุดหมายในการหาทางแก้ไขได้อย่างตรงประเด็น มีทิศทางชัดเจน ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนา – DEVELOP หลังจากที่เรามีแก่นของปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนของการพัฒนานี้ก็คือการระดมสมองเพื่อ แชร์ไอเดีย เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ นานา ทั้งในกรอบและนอกกรอบ โดยคิดให้รอบด้านที่สุด ถ้าเปรียบกับการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แล้วขึ้นตอนนี้ก็คือการหาไอเดียเพื่อที่จะออกแบบไปในทิศทางต่างๆ หลากหลายรูปแบบเพื่อนำมาเลือกไอเดียที่ดีที่สุดไปผลิตนั่นเอง ขั้นตอนที่ 4 : นำไปปฎิบัติจริง – DELIVER ขั้นตอนนี้เราจะเลือกวิธีที่ดีที่สุดเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาจริง ปฎิบัติจริง เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เราตั้งไว้ นำไปทดลองหรือทดสอบจริงว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ตลอดจนเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผลด้วย Cr.HR Note.asia เขียนโดย วิณัฐคนสวย ที่ 21:46 ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest ไม่มีความคิดเห็น: แสดงความคิดเห็น บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก สมัครสมาชิก: ส่งความคิดเห็น (Atom) เกี่ยวกับฉัน วิณัฐคนสวย ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน คลังบทความของบล็อก * ▼ 2020 (7) * ▼ พฤษภาคม (6) * บทนำ * บทที่ 1 กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เ... * บทที่ 2 ประโยชน์ของระบบการคิดเชิงออกแบบ * บทที่ 3 กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thin... * บทที่ 4 โมเดลเพชรคู่ (Double Diamond) กระบวนการของ... * บทสรุป * ► กรกฎาคม (1) เรียบง่าย ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger. Diese Website verwendet Cookies von Google, um Dienste anzubieten und Zugriffe zu analysieren. Deine IP-Adresse und dein User-Agent werden zusammen mit Messwerten zur Leistung und Sicherheit für Google freigegeben. So können Nutzungsstatistiken generiert, Missbrauchsfälle erkannt und behoben und die Qualität des Dienstes gewährleistet werden.Weitere InformationenOk